ปัญหา เสียงดังในอาคาร ที่มาและสาเหตุของปัญหา เสียงดัง เสียงก้อง เสียงสะท้อนในอาคาร ปัญหาเสียงสะท้อน ปัญหาเสียงก้องภายในอาคาร โดยส่วนมากจะเกิดกับอาคารคอนกรีต ห้องหรือพื้นที่ที่มีผนังเป็นลักษณะเรียบแข็ง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของอาคารแต่กลายเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาเสียงสะท้อน การแก้ไขเสียงก้อง เมื่อมีการใช้งานห้องหรือพื้นที่นั้น เพราะคลื่นเสียงจากการพูดคุย หรือทำกิจกรรมภายในอาคารนั้นออกไป และมีการสะท้อนกลับเมื่อเจอกับผนัง กำแพง หรือแม้กระทั่งประตูและหน้าต่าง ส่งผลให้ผู้ใช้งานต้องเพิ่มระดับความดังเสียงในการพูดคุยสื่อสารกัน แม้ระดับเสียงก้องและเสียงสะท้อนนี้ จะมีระดับความดังไม่มากนัก แต่ก็ส่งผลให้เกิดความรำคาญเมื่อต้องการทำกิจกรรมที่ไม่ต้องการเสียงสะท้อนเหล่านี้ เช่น การชมภาพยนตร์ การฟังเพลง การซ้อมดนตรี หรือแม้แต่การประชุมพูดคุยกัน ผู้ออกแบบอาคารสมัยใหม่ในปัจจุบันที่มีประสบการณ์ และเข้าใจถึง ปัญหาเรื่องเสียง สำหรับผู้อยู่อาศัยจริงๆ จะระบุให้หลายพื้นที่ใช้สอยในอาคารต้องมีฉนวนซับเสียงอยู่ในแนวผนังและพื้นที่ฝ้า เพื่อลดปัญหาเสียงก้อง เสียงสะท้อนเหล่านี้ เช่น เสียงสะท้อนห้องนอน เสียงสะท้อนห้องทำงาน เสียงสะท้อนห้องพักผ่อน เสียงสะท้อนห้องนั่งเล่น เสียงสะท้อนห้องประชุม เสียงสะท้อนห้องจัดเลี้ยง เสียงสะท้อนห้องทดสอบระบบ เสียงสะท้อนห้องแสดงสินค้า เสียงสะท้อนห้องบันทึกเสียง เสียงสะท้อนห้องจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น ปัจจัยที่นำมาพิจารณาเมื่อต้องการลดเสียงสะท้อน การลดเสียงก้องภายในอาคาร ค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้น เมื่อต้องมีการติดตั้งระบบดูดซับเสียง น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น สำหรับบางพื้นที่หรือบางอาคารที่มีปัญหาเรื่องการเพิ่มน้ำหนักภายหลัง วัสดุที่จะนำมาใช้ในการดูดกลืนเสียง ต้องไม่มีฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย ง่ายต่อการทำความสะอาด […]
Category Archives: ปัญหาเสียงดัง
คอมเพรสเซอร์เสียงดัง !! ที่มาและสาเหตุของปัญหา ปัญหา เสียงดังคอมเพรสเซอร์ (air compressor) ส่วนใหญ่จะเกิดจากเครื่องระบบ screw และ ลูกสูบ มากกว่าเครื่องระบบ rotary และทั้งสองระบบนี้ก็ก่อให้เกิดเสียงดังพร้อมความถี่และ ระดับความดังเสียง ที่ไม่เท่ากัน แต่เป็นอันตรายต่อประสาทหูของผู้ปฏิบัติงาน ได้เหมือนกัน ปัญหาเสียงดังจากคอมเพรสเซอร์ เกิดขึ้นได้ทั้งจากกระบวนการอัดลมด้วยแรงดันปกติและแรงดันสูง รวมถึงเสียงจากการทำงานของมอเตอร์ที่มีค่าคลื่นความถี่ระดับกลางคือ 400-500 Hz ในบางโรงงานหรือฝ่ายผลิตที่มีเครื่องคอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่หลายตัว อยู่ใกล้ห้องควบคุมหรืออยู่ติดกับโรงงานอื่น จะมีปัญหาเสียงดังเมื่อเครื่องทำงานสูงถึง 90-95 dBA ส่งผลให้พนักงาน และผู้ที่อยู่ใกล้เครื่องมีโอกาสเป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพการได้ยิน และสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับโรงงานหรือชุมชนที่อยู่ติดโรงงานอีกด้วย ข้อควรคำนึงในการลดเสียงดังจากเครื่องคอมเพรสเซอร์ ระบบกันเสียง หรือ ระบบซับเสียงที่จะติดตั้ง ต้องไม่ก่อให้เกิดความร้อนสะสม ระบบลดเสียงดังที่ติดตั้งแล้ว ต้องไม่ทำให้แรงดันอากาศบริเวณนั้นลดลง ต้องลดเสียงดังเมื่อเครื่องทำงานต่อเนื่องได้จริง ไม่น้อยกว่า 10 dBA เมื่อติดตั้งแล้วต้องไม่ก่อให้เกิดภาระหรือความยุ่งยากในขั้นตอนการซ่อมบำรุง สามารถแยกชิ้นและนำมาใช้ซ้ำได้ ในกรณีที่มีการย้ายตำแหน่งเครื่องคอมเพรสเซอร์นั้น แนวทางการแก้ไข การติดตั้งระบบลดเสียงดังให้แก่เครื่องคอมเพรสเซอร์ อาจต้องใช้ วิธีลดเสียง มากกว่าหนึ่งวิธี เพื่อให้เสียงดังจากการทำงานของเครื่องลดลงได้มากที่สุด ทาง นิวเทค อินซูเลชั่น แนะนำลูกค้าให้ใช้ […]
ปัญหา เสียงพัดลมอุตสาหกรรม มลภาวะทางเสียง!! ที่มาและสาเหตุของปัญหา เสียงพัดลมอุตสาหกรรม(Blower) แทบทุกโรงงานที่ต้องมี พัดลมอุตสาหกรรม (Blower) ติดตั้งอยู่ในฝ่ายผลิต ซึ่งพัดลมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จะให้แรงลมพร้อมกับการสั่นสะเทือน และเสียงดังจากใบมีดและมอเตอร์ รวมถึงการเสียดสีของลูกปืน ตามมา (air, vibration , and mechanic) ความเข้าใจผิดของหลายคนคือ เสียงเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไขได้ และเป็นเรื่องปกติเมื่อเครื่องทำงาน เพราะคิดว่าต้อง แก้ปัญหาเรื่องเสียงดังนี้ ด้วยวิธีการหุ้มฉนวนลดเสียงดังลงไปบนตัวเครื่องเท่านั้น และกังวลว่า การแก้ปัญหาเสียงดังด้วยวิธีนี้จะทำให้ใบพัดของพัดลมเกิดความร้อนสะสม และอาจมีการโก่งตัวของโลหะในที่สุด นับเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องทั้งหมดเพราะการแก้ปัญหาเสียงดังจากการทำงานของพัดลมอุตสาหกรรม สามารถแก้ปัญหาได้โดยการติดตั้ง silencer ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้และได้ผลเป็นที่น่าพอใจมากที่สุด ปัจจัยที่ใช้พิจารณาในการเลือก silencer เพื่อแก้ปัญหาเสียงดังจากพัดลมอุตสาหกรรม ต้องเหมาะกับขนาดของพัดลมและมอเตอร์พัดลม ต้องทำงานร่วมกับพัดลมและระบบระบายอากาศอื่นๆในโรงงานได้ดี มีราคาและค่าติดตั้งสอดคล้องกับงบประมาณในโครงการลดเสียงดัง แนวทางการแก้ไข การแก้ปัญหาเสียงดังจากพัดลมอุตสาหกรรม ต้องคำนึงถึงผลกระทบกับระบบที่เกี่ยวเนื่องกัน ภายหลังแก้ปัญหานี้ได้แล้ววิธีการแก้ปัญหาต้องไม่สร้างปัญหาใหม่ให้กับกระบวนการผลิต แนวทางการแก้ปัญหาที่ทาง นิวเทค อินซูเลชั่น มักแนะนำและนำมาใช้ในการลดเสียงดังจากพัดลมอุตสาหกรรมมีดังนี้ เสียงดังที่เกิดจากอากาศ – ใช้วิธีการติดตั้ง silencer จะช่วยลดเสียงดังได้เห็นผลที่สุด เสียงดังที่เกิดจากการสั่น – หากเป็นท่ออ่อน (flex) […]
เครื่องบดสับย่อย เสียงดังเกินไป!!! เครื่องบด เครื่องสับ และเครื่องย่อยมี ปัญหาเรื่องเสียงดัง ที่เหมือนกัน คือ มีเสียงดังที่เกิดจากวัตถุกระทบกับผนังเครื่อง และ วัตถุกระทบกันเองจากการแปรรูปชิ้นส่วนใหญ่ให้เป็นชิ้นส่วนที่เล็กลง เสียงดังที่เกิดจากกระบวนการรีไซเคิล หรือทำให้วัตถุดิบเล็กลงนี้ บางครั้งให้เสียงที่มีระดับความดังสูงถึง 110-115 dBA เช่น เครื่องย่อยท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6” ที่มีความหนาท่อตั้งแต่ 10 mm ขึ้นไปเมื่อทำการย่อยด้วยเครื่องขนาด 300 kW จะก่อให้เกิดเสียงดังรำคาญ ที่ความถี่ตั้งแต่ 400-12000 Hz ด้วยระดับความดังเสียงสูงสุดที่ 112 dBA หากไม่มีระบบป้องกันเสียงที่ดี เสียงที่ดังขนาดนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสูญเสียสมรรถภาพทางการได้ยินภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน แม้จะสวมใส่ อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง ในการปฏิบัติงานแล้วก็ตาม ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องและดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน จึงควรตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องเสียงดังที่เกิดจากกระบวนการย่อยหรือรีไซเคิลนี้ ตัวอย่างเครื่องจักรที่เข้าข่ายเครื่องบด เครื่องสับ เครื่องย่อย เครื่องย่อยท่อพีวีซี ในอุตสาหกรรมท่อน้ำ เครื่องสับไม้ขนาดใหญ่ สำหรับทำเชื้อเพลิงหรือขี้เลื่อย เครื่องบดหินปูน ในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ แนวทางการแก้ไข วิธีการ แก้ปัญหาเสียงดังจากเครื่องย่อยหรือเครื่องรีไซเคิล ทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมหน้างานและเงื่อนไขการทำงานของเครื่องจักร แต่วิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่ การติดตั้งฉนวนกันเสียง ลงไปบนตัวเครื่อง […]
เครื่องยนต์เสียงดัง เครื่องปั่นไฟเสียงดัง ห้องควบคุมเสียงดัง / เครื่องปั่นไฟ ที่มาและสาเหตุของปัญหา เสียงดังที่เกิดจากเครื่องยนต์และ เสียงดังที่เกิดจากเครื่องปั่นไฟ รวมถึงเครื่อง fire pump ในหลายโรงงาน กลายเป็น แหล่งกำเนิด เสียงดังรำคาญ เมื่อเครื่องทำงาน ทั้งในการทำงานจริงระยะยาวหลายชั่วโมง และ การทำงานแบบทดสอบความพร้อมของเครื่องเป็นบางครั้ง เช่น โรงงานหรือสถานประกอบการที่มีชุมชนล้อมรอบ ที่ต้องทำการทดสอบระบบปั๊มน้ำดับเพลิงทุกๆ 2 สัปดาห์ ครั้งละแค่ 30 นาที กลับมีปัญหาที่คาดไม่ถึงคือการโดนร้องเรียนจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ติดกับโรงงาน (แนวที่เครื่องติดตั้ง) เมื่อทำการ วัดระดับเสียงพบว่า มีค่าเสียงในห้องเครื่องอยู่ที่ 90-95 dBA แต่วัดเสียงแนวกำแพงโรงงานที่อยู่ติดกับหมู่บ้านมีค่าถึง 75-80 dBA ดูเหมือนเสียงจะไม่เกินค่าที่กฎหมายกำหนด แต่คลื่นความถี่เสียง ที่วัดได้พบว่าอยู่ในย่าน ความถี่ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญต่อการได้ยิน (ส่งผลให้นอนไม่หลับ เครียด หงุดหงิด) ข้อมูลของระดับเสียงจากการวัดจริง ห่างจากเครื่อง 1 เมตร เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 800 kW -> 90-95 dBA เครื่องยนต์ก๊าซธรรมชาติขนาด […]
ท่อลำเลียงเสียงดัง !! ที่มาและสาเหตุของปัญหา ปัญหาเสียงดัง ที่เกิดขึ้นภายในโรงงานอุตสาหกรรม มีน้อยคนที่จะทราบว่าท่อส่งก๊าซ หรือของเหลว ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็น แหล่งกำเนิดเสียง เพราะการสั่นสะเทือนและแรงดันที่เกิดขึ้นภายในท่อนั้นเอง ทำให้การ แก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง ที่มีแนวท่อลำเลียงอยู่บริเวณนั้นด้วย ผิดประเด็นหรือได้ผลลัพธ์เรื่องเสียงที่ลดลงน้อยกว่าที่ประเมินไว้ เหตุเพราะไม่ได้คำนึงถึงเรื่อง เสียงที่เกิดจากท่อลำเลียง เหล่านี้ ปัญหาเสียงรบกวนจากท่อ เกิดขึ้นได้แม้ในท่อน้ำทิ้งทั่วไป ภายในอาคาร หรือบ้านพักอาศัย (เมื่อมีการกดน้ำโถชักโครก) หรือท่อในโรงงานตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6” ขึ้นไป โดยเฉพาะท่อที่มีอัตราของไหลและแรงดันในท่อสูงมากๆอย่างท่อลำเลียง oxygen และ nitrogen รวมถึงท่อทั่วไปที่มีการติดตั้งและระยะซัพพอร์ทไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการกระพือหรือสั่นสะเทือนของท่อเมื่อมีแรงดันสูงมากๆ โดยทั่วไปเสียงดังจากท่อทางเหล่านี้ไม่ได้มีค่าระดับเสียงที่สูงมาก (ไม่เกิน 80-85 dBA) แต่เมื่อเราแก้ปัญหาเสียงดังที่จุดอื่นได้แล้ว โดยที่แนวท่อเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือรับไว้พิจารณาในการออกแบบ ระบบลดเสียงดัง แต่แรก ก็อาจทำให้ ระดับเสียงที่ลดลงไม่เป็นไปตามที่เราคำนวณไว้ก่อนหน้า จึงจำเป็นที่ผู้ทำการวิเคราะห์และ แก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง ต้องคำนึงถึงเสียงดังที่เกิดจากท่อลำเลียง นี้ด้วย แนวทางการแก้ไข เสียงดังจากท่อลำเลียง นิยมใช้วิธีหุ้มฉนวนกันเสียง หรือ ฉนวนซับเสียง ลงไปตรงๆบนผิวท่อได้เลย หรือในกรณีที่ไม่สามารถหุ้มฉนวนลงบนผิวท่อได้ตรงๆ ก็สามารถสร้างฝาครอบแบบถอดได้ ติดตั้งไปตามแนวท่อ โดยสิ่งสำคัญคือการคำนวณหาคุณสมบัติของ […]
ห้องควบคุมเสียงดัง!!! ปัญหา เสียงดังในห้องควบคุม ที่มาและสาเหตุของปัญหาห้องควบคุมระบบที่ไม่ได้มีการออกแบบ และ ก่อสร้าง ระบบกันเสียง ไว้ตั้งแต่ต้น จะสร้าง ปัญหาเรื่องเสียงดัง ที่ผ่านเข้ามาภายในห้อง เมื่อมีการผลิต หรือเมื่อเครื่องจักรทำงาน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ได้แก่ เสียงดังห้องควบคุมระบบที่อยู่ติดหรืออยู่ใกล้กับเครื่องจักร เช่น เสียงดังห้องคอนโทรลของเครื่อง gas engines ขนาดกำลัง 300 kW ที่ทำงานพร้อมกัน 4 เครื่องพร้อมๆกัน จะกำเนิดเสียงในจุดตั้งเครื่องที่มี ระดับความดังเสียง ถึง 95-105 dBA หากห้องควบคุมไม่มี ระบบกันเสียง ที่มีประสิทธิภาพพอ จะทำให้เสียงผ่านเข้าไปในห้องที่อยู่ห่างกันราว 15 เมตรที่ระดับ ความดังของเสียง ระหว่าง 80-85 dBA ซึ่งเสียงขนาดนี้ ส่งผลให้คนปฏิบัติงานภายในห้องนั้นเกิดความรำคาญจากคลื่นเสียง จนไม่สามารถทำงานได้ แม้จะใส่ อุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น ear muffs และ ear plugs แล้วก็ตาม และอาจเกิด โรคพิการทางเสียง […]
เสียงเครื่องจักรดัง แก้เสียงดังเครื่องจักร ปัญหา และ สาเหตุของปัญหา โรงงาน และ ปัญหาเสียงดังจากการผลิต ดูจะเป็นสิ่งคู่กันมานานจนแยกกันแทบไม่ออก โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมหนักขนาดใหญ่ เช่น เสียงดังโรงหลอมเหล็ก เสียงดังโรงรีดเหล็กแผ่น เสียงดังโรงหล่อเหล็กแท่ง เสียงดังโรงงานรีไซเคิลชิ้นส่วนพลาสติค เสียงดังโรงงานปูนซีเมนต์ เสียงดังโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เสียงดังโรงงานสับไม้ เสียงดังโรงไฟฟ้า เสียงดังโรงกลั่น เสียงดังโรงแยกก๊าซ และ ปัญหาเสียงดังโรงงานอื่นๆที่มีระบบหม้อน้ำ หรือ เสียงดังเทอร์ไบน์ เป็นส่วนหนึ่งของการผลิต ซึ่ง ปัญหาเสียงดัง เหล่านี้ ส่งผลกระทบโดยตรงกับบุคลากรในโรงงานนั้นและชุมชนที่อยู่รอบบริเวณโรงงาน ซึ่งหากลุกลามบานปลายก็จะกลายเป็นเรื่องฟ้องร้องกันไปเลยก็มี ปัญหา เสียงเครื่องจักรดัง ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้า เหล่านี้ เกิดขึ้นได้จาก การสั่นสะเทือน การกระทบกระแทกและเสียดสีกันของวัสดุ เสียงของเหลวของไหลในท่อ เสียงแรงดัน หรือวัตถุแหวกอากาศ แนวทางแก้ไข มลภาวะทางเสียง ที่เกิดจากการผลิตในโรงงาน มีวิธีการแก้ไขได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดเสียง และความซับซ้อนของกระบวนการผลิตนั้น เช่น ปัญหาเรื่องเสียง สามารถแก้ไขได้โดยการทำ ผนังกั้นเสียง ห้องดูดซับเสียง ท่อลดเสียง กล่องเก็บเสียง แผ่นดูดกลืนเสียง […]