คอมเพรสเซอร์เสียงดัง !!
ที่มาและสาเหตุของปัญหา ปัญหา เสียงดังคอมเพรสเซอร์ (air compressor) ส่วนใหญ่จะเกิดจากเครื่องระบบ screw และ ลูกสูบ มากกว่าเครื่องระบบ rotary และทั้งสองระบบนี้ก็ก่อให้เกิดเสียงดังพร้อมความถี่และ ระดับความดังเสียง ที่ไม่เท่ากัน แต่เป็นอันตรายต่อประสาทหูของผู้ปฏิบัติงาน ได้เหมือนกัน ปัญหาเสียงดังจากคอมเพรสเซอร์ เกิดขึ้นได้ทั้งจากกระบวนการอัดลมด้วยแรงดันปกติและแรงดันสูง รวมถึงเสียงจากการทำงานของมอเตอร์ที่มีค่าคลื่นความถี่ระดับกลางคือ 400-500 Hz ในบางโรงงานหรือฝ่ายผลิตที่มีเครื่องคอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่หลายตัว อยู่ใกล้ห้องควบคุมหรืออยู่ติดกับโรงงานอื่น จะมีปัญหาเสียงดังเมื่อเครื่องทำงานสูงถึง 90-95 dBA ส่งผลให้พนักงาน และผู้ที่อยู่ใกล้เครื่องมีโอกาสเป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพการได้ยิน และสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับโรงงานหรือชุมชนที่อยู่ติดโรงงานอีกด้วย
ข้อควรคำนึงในการลดเสียงดังจากเครื่องคอมเพรสเซอร์
- ระบบกันเสียง หรือ ระบบซับเสียงที่จะติดตั้ง ต้องไม่ก่อให้เกิดความร้อนสะสม
- ระบบลดเสียงดังที่ติดตั้งแล้ว ต้องไม่ทำให้แรงดันอากาศบริเวณนั้นลดลง
- ต้องลดเสียงดังเมื่อเครื่องทำงานต่อเนื่องได้จริง ไม่น้อยกว่า 10 dBA
- เมื่อติดตั้งแล้วต้องไม่ก่อให้เกิดภาระหรือความยุ่งยากในขั้นตอนการซ่อมบำรุง
- สามารถแยกชิ้นและนำมาใช้ซ้ำได้ ในกรณีที่มีการย้ายตำแหน่งเครื่องคอมเพรสเซอร์นั้น
แนวทางการแก้ไข
การติดตั้งระบบลดเสียงดังให้แก่เครื่องคอมเพรสเซอร์ อาจต้องใช้ วิธีลดเสียง มากกว่าหนึ่งวิธี เพื่อให้เสียงดังจากการทำงานของเครื่องลดลงได้มากที่สุด ทาง นิวเทค อินซูเลชั่น แนะนำลูกค้าให้ใช้ วิธีเหล่านี้ผสมผสานกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ การแก้ปัญหาเสียง
- ม่านกั้นเสียง หรือ ผนังกันเสียงแบบถอดได้ – ลดเสียงดังลงได้ประมาณ 10-13 dBA
- แผ่นซับเสียง ฉนวนดูดกลืนเสียง – ติดตั้งที่ผนังคอนกรีตเดิมและด้านบน ลดเสียงได้ราว 5 dBA
- กล่องเก็บเสียง ติดตั้งพร้อมประตูกันเสียง – ลดเสียงดังลงได้ราว 20-25 dBA
Sound:
“ฉนวนกันเสียง” ต่างกับ “ฉนวนซับเสียง” อย่างไร? ฉนวนกันเสียงมีคุณสมบัติต้านทานหรือกักเก็บเสียงไม่ให้ทะลุผ่าน ส่วนฉนวนซับเสียงนั้นจะมีคุณสมบัติในการยอมให้เสียงผ่านเข้าไปแล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่น ก่อนปล่อยให้พลังงานเสียงที่เหลือผ่านทะลุออกมา ซึ่งฉนวนเสียงทั้งสองแบบมีประโยชน์และใช้ร่วมกันได้ ในการแก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง