ม่านกันเสียง อีกหนึ่งสินค้าของ ฉนวนกันเสียง ที่ช่วยแก้ปัญหาเสียงดัง สำหรับการแก้ปัญหาเสียงดังรบกวนจากเครื่องจักรนั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธีตั้งแต่การปรับปรุง การย้าย การสร้างห้องกันเสียง เป็นต้น แต่ในกรณีที่ไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ การใช้ม่านกันเสียงมาช่วยแก้ปัญหาก็เป็นทางออกที่น่าสนใจอีกทางหนึ่ง ตัวอย่างของการนำม่านกันเสียงมาประยุกต์ใช้ ติดตั้งม่านกันเสียงรอบมอเตอร์หรือแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนที่ต้องมีการถ่ายเทความร้อน เลือกใช้ม่านกันเสียงเฉพาะด้านประตูหรือด้านที่ต้องมีการเปิดปิดเข้าออกบ่อยครั้ง นำม่านกันเสียงมาใช้ในพื้นที่ที่ต้องการป้องกันเสียงจากด้านหนึ่งดังรบกวนมายังอีกด้านหนึ่ง ติดตั้งม่านกันเสียงรอบพื้นที่หรือโต๊ะทำงานเฉพาะกิจของช่างที่มีเสียงดังรบกวนพื้นที่ส่วนรวม แขวนม่านกันเสียงรอบที่ตั้งปั๊มลมหรือคอมเพรสเซอร์เพื่อลดเสียงดังขณะที่เครื่องทำงาน ข้อควรทราบคือ “ม่านกันเสียง” ที่กันเสียงได้ดีหรือลดทอนกำลังงานเสียงลงได้มาก จะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับม่านตามอาคารบ้านพักอาศัยทั่วไป การนำม่านกันเสียงสำหรับอุปกรณ์หรืองานอุตสาหกรรมไปประยุกต์ใช้ในอาคารบ้านเรือนจึงต้องคำนึงถึงเรื่องความสะดวกในการจัดเก็บด้วย ม่านกันเสียงโดยทั่วไปจะลดระดับเสียงลงได้ประมาณ 5-10 dBA แต่หากนำมาประยุกต์ใช้กับฉนวนกันเสียง หรือวัสดุกันเสียงประเภทอื่นๆ ที่อยู่ในรูปห้องกันเสียงแบบเปิดด้านหน้า ตู้กันเสียงแบบเปิดเฉพาะด้านข้าง หรือผนังกันเสียงที่ต้องมีการติดตั้งม่านกันเสียงในรูปตัวแอลหรือตัวยู ระดับเสียงที่ลดลงก็อาจจะมากกว่า 10 dBA ในกรณีที่เป็นเสียงความถี่สูง (โดยเฉพาะย่านความถี่ตั้งแต่ 4000 Hz ขึ้นไป) หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกใช้ม่านกันเสียง วัสดุและส่วนประกอบอื่น วิธีการติดตั้งและการดูแลรักษา รวมไปถึงระดับความดันเสียงที่ลดลงหลังจากนำไปใช้งาน และราคาทั้งค่าสินค้าและค่าติดตั้ง สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเจ้าหน้าที่ บริษัท นิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด
Tag Archives: ม่านกันเสียง
ม่านกันเสียง เป็นหนึ่งในสินค้า ฉนวนกันเสียง ถูกแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามสถานที่ที่นำไปติดตั้งใช้งาน คือม่านกันเสียงที่ใช้ในบ้านและม่านกันเสียงที่ใช้ในโรงงาน ทั้งสองแบบมีคุณสมบัติและราคาที่ต่างกันชัดเจน คือแบบที่ใช้ในบ้านจะมีความหนาและน้ำหนักน้อยกว่าแบบที่ใช้ในโรงงาน เนื่องจากต้องมีการเลื่อนเข้าออกแทบทุกวัน อีกทั้งตัวผ้าด้านนอกของม่านกันเสียงสำหรับติดตั้งในบ้านพักอาศัย จะมีความนุ่มและการให้ตัวที่มากกว่าม่านกันเสียงที่ติดตั้งกับเครื่องจักรหรือพื้นที่ผลิตภายในโรงงาน ปัจจัยที่ทำให้ม่านกันเสียงทั้งสองแบบมีราคาแตกต่างกัน วัสดุที่นำผลิตม่านกันเสียง ม่านกันเสียงที่ใช้ในบ้านสามารถนำผ้าหนามาเย็บร่วมกับวัสดุกันเสียงที่มีความหนาไม่มากได้ ราคาวัสดุหลักจึงเป็นลายผ้าด้านนอกที่เย็บติดกับแผ่นกันเสียง เพราะลวดลายผ้าบางแบบจะมีราคาต่อตารางเมตรต่างกันเป็นหลักร้อยหรือหลักพันบาท ส่วนม่านกันเสียงที่ใช้ในโรงงานนั้นจะมีวัสดุที่เน้นความแข็งแรงทนทานกว่า แต่จะมีสีและลวดลายของผ้าที่จะนำเย็บประกอบเป็นม่านกันเสียงให้เลือกน้อยกว่า ค่าการลดเสียงหรือการกันเสียง ส่วนใหญ่ม่านกันเสียงที่ใช้ตามบ้านจะลดเสียงได้น้อยกว่าม่านกันเสียงที่ใช้ในโรงงาน เนื่องจากมีขนาดบางกว่า น้ำหนักน้อยกว่า เพราะต้องมีการเปิดและปิดม่านทุกวัน (หรือหลายครั้งต่อเดือน) ปัจจัยนี้ทำให้ราคาของม่านกันเสียงในบ้านมีราคาถูกว่าม่านกันเสียงในโรงงาน วิธีการติดตั้งและการดูแลรักษา ม่านกันเสียงในบ้านจะติดตั้งได้ง่าย ส่วนใหญ่ไม่มีระบบกึ่งอัตโนมัติในการรูดม่าน การดูแลรักษาก็ไม่มีอะไรมากแค่ระวังเรื่องฝุ่นเท่านั้น แต่สำหรับม่านกันเสียงในโรงงานโดยเฉพาะที่มีรูปแบบการเปิดปิดแบบกึ่งอัตโนมัติ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเชิงป้องกัน (preventive maintenance) ให้ระบบสามารถทำงานได้ตามปกติอยู่เสมอ ราคาของม่านกันเสียงในโรงงานประเภทนี้จึงสูงกว่าเมื่อเทียบกับม่านกันเสียงที่ใช้ในบ้าน คุณสมบัติอื่นๆที่ม่านกันเสียงควรมี ม่านกันเสียงแบบที่ใช้ในบ้านไม่ต้องการคุณสมบัติใดมากไปกว่าการกันเสียงและความง่ายในการใช้งาน (หลังจากเรื่องความปลอดภัย) ต่างจากม่านกันเสียงที่ใช้ในโรงงานที่มักต้องการคุณสมบัติอื่นๆเพิ่มนอกเหนือจากค่าการลดเสียง เช่น กันเชื้อรา กันน้ำ กันการลามไฟ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ราคาของม่านกันเสียงทั้งสองแบบแตกต่างกัน สภาพแวดล้อมที่ม่านกันเสียงติดตั้ง แน่นอนว่าม่านกันเสียงแบบที่ใช้ในบ้านแทบไม่โดนกระทำจากปัจจัยอันใดเลย ต่างจากม่านกันเสียงที่ใช้ในโรงงาน ที่มีโอกาสเปื้อนน้ำมัน โดนไอกรด ปะทะกับสารเคมี หรือถูกสะเก็ดไฟในบางกรณี คุณสมบัติที่ต้องมีเพิ่มเข้ามานี้มีผลกับราคาที่ต่างกันของม่านกันเสียงทั้งสองแบบ แนวทางการเลือกใช้ม่านกันเสียงโดยสังเขป ปลอดภัยเมื่อนำมาใช้งาน […]
ม่านกันเสียงและม่านทั่วไป ม่านกันเสียง อีกประเภทของ ฉนวนกันเสียง ซึ่งนิยมใช้กันเสียงในโรงงานมากกว่าใช้กันเสียงในอาคารพักอาศัย เนื่องจากน้ำหนักและความแข็งตัวของม่านกันเสียงที่มีมากกว่าม่านทั่วไป ทำให้การใช้งานในบ้านหรือห้องชุดไม่เป็นที่นิยม มีหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าม่านกันเสียงจะมีลักษณะของวัสดุคล้ายหรือเหมือนกับม่านบังแดดและบังตาโดยทั่วไป แต่โดยความเป็นจริงแล้วม่านกันเสียง จะมีน้ำหนักมากกว่าม่านธรรมดาหลายเท่าตัว ม่านกันเสียงเหมาะกับการใช้งานแบบไหน ม่านกันเสียงเหมาะกับการใช้ลดเสียงจากกระบวนการผลิตในโรงงาน หรือเสียงดังรบกวนจากเครื่องจักรที่ส่งผลกระทบกับพนักงาน เหมาะกับงานลดเสียงที่หวังผลประมาณ 5-10 dBA (ขึ้นอยู่กับพลังงานเสียง) หรืองานเก็บรายละเอียดหลังจากที่ทำห้องกันเสียงหรือติดแผ่นซับเสียงแล้ว แต่ระดับเสียงยังคงสูงกว่าความคาดหวังหรือเป้าหมายที่ต้องการลดเสียง ม่านกันเสียงจะมาช่วยลดระดับเสียงลงได้ในขั้นตอนสุดท้าย ส่วนประกอบของม่านกันเสียง ม่านกันเสียงมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบใส แบบทึบ ยังไม่นับรวมถึงวิธีการติดตั้งและวิธีการใช้งาน ที่มีทั้งแบบกึ่งอัตโนมัติและแบบใช้งานธรรมดา ส่วนประกอบของผนังกันเสียงจึงมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการลดเสียงจากแหล่งกำเนิดและเสียงที่ปลายทางหรือผู้รับเสียงต้องการ ตัวอย่างส่วนประกอบหลักของม่านกันเสียงได้แก่ ผ้าสักหลาดหนา ผ้าใยสังเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูง แผ่นโปลีเอสเตอร์หนา แผ่นวัสดุจำพวกเทอร์โมพลาสติค ผ้าเคลือบสารกันลามไฟ เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งานม่านกันเสียง การติดตั้งม่านกันเสียงบริเวณประตูเข้าออก ของห้องไฮดรอลิคปั๊ม การติดตั้งม่านกันเสียงบริเวณที่พนักงาน ทำงานอยู่ใกล้เครื่องจักร การติดตั้งม่านกันเสียงรอบเครื่องตัดน้ำแข็ง หรือ freezing tower การติดตั้งม่านกันเสียงรอบเครื่องแยกขนาด (sieving machine) เพื่อลดเสียงสะท้อน การติดตั้งม่านกันเสียงบริเวณประตูห้องเครื่องอัดอากาศ เพื่อลดเสียงรบกวน ข้อเด่นและข้อจำกัดของม่านกันเสียง ในงานแก้ปัญหาเสียงรบกวนม่านกันเสียงเป็นทางเลือกที่ลงทุนน้อยสุด ทำได้รวดเร็วและลดระดับเสียงได้ในระดับที่น่าพอใจ แต่ม่านกันเสียงเหมาะกับงานลดระดับเสียงที่เกินความต้องการอยู่ไม่มาก และเนื่องจากไม่ได้เป็นการป้องกันเสียงทุกทิศทางเหมือนห้องกันเสียงหรือตู้กันเสียง […]
ม่านกันเสียง แบบถอดได้ วัสดุจากเยอรมนี