ม่านกันเสียง อีกหนึ่งสินค้าของ ฉนวนกันเสียง ที่ช่วยแก้ปัญหาเสียงดัง สำหรับการแก้ปัญหาเสียงดังรบกวนจากเครื่องจักรนั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธีตั้งแต่การปรับปรุง การย้าย การสร้างห้องกันเสียง เป็นต้น แต่ในกรณีที่ไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ การใช้ม่านกันเสียงมาช่วยแก้ปัญหาก็เป็นทางออกที่น่าสนใจอีกทางหนึ่ง ตัวอย่างของการนำม่านกันเสียงมาประยุกต์ใช้ ติดตั้งม่านกันเสียงรอบมอเตอร์หรือแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนที่ต้องมีการถ่ายเทความร้อน เลือกใช้ม่านกันเสียงเฉพาะด้านประตูหรือด้านที่ต้องมีการเปิดปิดเข้าออกบ่อยครั้ง นำม่านกันเสียงมาใช้ในพื้นที่ที่ต้องการป้องกันเสียงจากด้านหนึ่งดังรบกวนมายังอีกด้านหนึ่ง ติดตั้งม่านกันเสียงรอบพื้นที่หรือโต๊ะทำงานเฉพาะกิจของช่างที่มีเสียงดังรบกวนพื้นที่ส่วนรวม แขวนม่านกันเสียงรอบที่ตั้งปั๊มลมหรือคอมเพรสเซอร์เพื่อลดเสียงดังขณะที่เครื่องทำงาน ข้อควรทราบคือ “ม่านกันเสียง” ที่กันเสียงได้ดีหรือลดทอนกำลังงานเสียงลงได้มาก จะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับม่านตามอาคารบ้านพักอาศัยทั่วไป การนำม่านกันเสียงสำหรับอุปกรณ์หรืองานอุตสาหกรรมไปประยุกต์ใช้ในอาคารบ้านเรือนจึงต้องคำนึงถึงเรื่องความสะดวกในการจัดเก็บด้วย ม่านกันเสียงโดยทั่วไปจะลดระดับเสียงลงได้ประมาณ 5-10 dBA แต่หากนำมาประยุกต์ใช้กับฉนวนกันเสียง หรือวัสดุกันเสียงประเภทอื่นๆ ที่อยู่ในรูปห้องกันเสียงแบบเปิดด้านหน้า ตู้กันเสียงแบบเปิดเฉพาะด้านข้าง หรือผนังกันเสียงที่ต้องมีการติดตั้งม่านกันเสียงในรูปตัวแอลหรือตัวยู ระดับเสียงที่ลดลงก็อาจจะมากกว่า 10 dBA ในกรณีที่เป็นเสียงความถี่สูง (โดยเฉพาะย่านความถี่ตั้งแต่ 4000 Hz ขึ้นไป) หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกใช้ม่านกันเสียง วัสดุและส่วนประกอบอื่น วิธีการติดตั้งและการดูแลรักษา รวมไปถึงระดับความดันเสียงที่ลดลงหลังจากนำไปใช้งาน และราคาทั้งค่าสินค้าและค่าติดตั้ง สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเจ้าหน้าที่ บริษัท นิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด
Author Archives: admin
Newtech Insulation บริการให้คำปรึกษา ปัญหาเสียงดัง ออกแบบ ติดตั้งฉนวนกันเสียง ทั้งฉนวนกันเสียงอาคาร ที่พักอาศัย ฉนวนกันเสียงเครื่องจักร ฉนวนกันเสียงโรงงาน
เสียงที่ดังเกินไป สามารถสร้างอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนษย์ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายรวมถึงสุขภาพจิต ฉนวนกันเสียงช่วยลดเสียงดัง
วัตถุประสงค์ของการใช้ ผนังกันเสียง ผนังกันเสียงถูกออกแบบมาเพื่อใช้สะท้อนเสียงกลับไปยังทิศทางของแหล่งกำเนิดเสียง (ทิศทางตรงข้ามกับผนัง) หรือในทางทฤษฏีงานเสียงจะเรียกหลักการนี้ว่า “Theory of Diffraction” ในตอนแรก “ผนังกันเสียง” ได้ถูกนำมาใช้กับงานลดเสียงบนถนนหรือการจราจรของยานพาหนะเป็นหลัก แต่ต่อมาได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ลดเสียงดังรบกวนในพื้นที่โรงงาน หรือพื้นที่ที่ต้องการลดเสียงรบกวนอย่างแพร่หลายด้วยเช่นกัน ผนังกันเสียงกับค่า Insertion Loss นานมาแล้วที่นักฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์อย่าง Keller, Kurze และ Anderson รวมถึงท่านอื่นๆได้พยายามทำการจำลองตัวแบบและหาสูตรสำเร็จในการคำนวนค่าการลดทอนเสียง สำหรับผนังกันเสียงในแบบต่างๆ สุดท้ายได้ข้อสรุปที่สำคัญคือว่า ผนังกันเสียงจะมีปัจจัยที่ต้องทราบอยู่สองเรื่องคือ “bright zone” (พื้นที่รับเสียง) และ “shadow zone” (พื้นที่อับเสียง) ค่า Insertion Loss ที่มีมากจะแปรผันตรงกับต้นทุนหรือค่าก่อสร้างผนังกันเสียงด้วย กล่าวคือยิ่งมีค่า IL มาก ก็แสดงว่าต้นทุนของผนังกันเสียงนั้นจะมากขึ้นด้วยนั่นเอง พิจารณาค่า TL (Transmission Loss) ของผนังกันเสียง จริงๆแล้วผนังกันเสียงเปรียบเสมือนตู้ครอบลดเสียง ที่มีด้านเปิดเป็นบางด้าน ที่มีการสร้างขึ้นมาเพื่อลดเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงโดยตรง แม้ผนังกันเสียงจะเบี่ยงเบนทิศทางของเสียงได้ แต่พลังงานเสียงส่วนหนึ่งที่ปะทะกับผนังกันเสียงก็จะมีพลังงานบางส่วนที่ทะลุผ่านผนังไปได้ ตามกฎของ “transmission laws” ซึ่งข้อสรุปก็คือ “ผนังกันเสียงที่มีน้ำหนักมาก” […]
เสียงดังรบกวน คือเสียงที่ผู้รับฟังไม่อยากได้ยิน หากเป็นเสียงที่ได้ยินแล้วรู้สึกเดือดร้อน รำคาญ หรือมีอาการตอบสนองในทางลบ ให้ถือว่าเสียงนั้นเป็นเสียงรบกวน
แผ่นซับเสียงหมายถึง “วัสดุที่มีความสามารถในการรองรับพลังงานเสียงและมีคุณสมบัติในการสะท้อนเสียงน้อยที่สุด” แผ่นซับเสียงโดยมากจะมีเนื้อวัสดุที่ไม่ต่อเนื่องกัน เพื่ออาศัยโพรงหรือช่องอากาศในเนื้อวัสดุ ได้ให้คลื่นเสียงเดินทางผ่านเข้าไปตามช่องว่างเหล่านั้น
การติดตั้งแผ่นซับเสียงภายในอาคาร • แผ่นซับเสียงห้องประชุม กรณีที่เลือกแผ่นซับเสียงแบบฟองน้ำหรือแผ่นใยสังเคราะห์ ทั้งโปลีเอสเตอร์ โปลีโพรไพลีน โปลียูรีเทน หรือวัสดุอื่นๆที่มีน้ำหนักเบา สามารถติดแผ่นซับเสียงได้ด้วยเทปกาวสองหน้า หรือกาวตะปูโดยการแต้มเฉพาะจุด ไม่จำเป็นต้องทาตลอดทั้งแผ่นซับเสียง • แผ่นซับเสียงในห้องสำนักงาน สำหรับออฟฟิศหรือพื้นที่สำนักงานที่มีเสียงก้องรบกวน จะนิยมใช้แผ่นซับเสียงที่มีสีสันเข้ากับสีหรือบรรยากาศในพื้นที่นั้น จึงนิยมใช้แผ่นซับเสียงที่มีเฟรมเป็นไม้กรุวัสดุซับเสียง และห่อทับด้วยผ้าที่มีสีสันต่างๆ ทั้งแบบผ้ากันไฟลามและผ้าธรรมดา แผ่นซับเสียงแบบนี้จะมีน้ำหนักมากกว่าแบบฟองน้ำ แต่ก็ซับเสียงได้ดีกว่า การติดตั้งจึงนิยมใช้ตะปูเกลียวเจาะยึดที่ผนัง ก่อนทำการแขวนแผ่นซับเสียง คล้ายกับการติดกรอบรูป • แผ่นซับเสียงในห้องซ้อมดนตรี ในห้องซ้อมดนตรีที่มีการติดแผ่นซับเสียง เราไม่จำเป็นต้องติดวัสดุซับเสียงเต็มพื้นที่ แค่เลือกติดเป็นบางมุมหรือบางด้านก็เพียงพอต่อการลดเสียงสะท้อน การติดแผ่นซับเสียงในห้องนี้จึงสามารถทำได้ทั้งโดยการทากาวแปะ หรือติดเทปกาวสองหน้าเหมือนแผ่นซับเสียงในห้องประชุม • แผ่นซับเสียงในห้องดูหนังฟังเพลง ห้องดูหนังฟังเพลงจัดได้ว่าเป็นห้องใช้งานส่วนบุคคล ยุคสมัยนี้จึงมีการออกแบบให้แผ่นซับเสียงที่จะนำมาติดในห้องนี้ สามารถเคลื่อนย้ายหรือเปลียนตำแหน่งได้ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายแก่ผู้ใช้ห้อง การติดแผ่นซับเสียงในห้องนี้สามารถทำได้ทั้งแบบ แม่เหล็ก ตะปูเกลียว และเทปกาว ขึ้นอยู่กับน้ำหนักแผ่นซับเสียงที่ถูกเลือกนำมาใช้ การติดตั้งแผ่นซับเสียงภายนอกอาคาร • แผ่นซับเสียงสำหรับผนังลดเสียงเครื่องจักร การติดตั้งผนังลดเสียงเครื่องจักรโดยการใช้แผ่นซับเสียง (ชนิดใช้งานภายนอกอาคาร) ติดกับโครงสร้างเหล็ก เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากมีขั้นตอนการทำงานที่ไม่ยุ่งยาก ใช้เงินลงทุนไม่สูงมากนัก และส่วนใหญ่สามารถลดเสียงรบกวนของเครื่องจักรได้ผลเป็นที่น่าพอใจ การติดตั้งแผ่นซับเสียงเข้ากับโครงสร้าง สามารถติดตั้งได้โดยการใช้เคเบิ้ลไทด์พลาสติค หรือลวดสแตนเลส ร้อยเข้ากับรูของแผ่นซับเสียง […]
การเลือกซื้อแผ่นซับเสียงเพื่อมาติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการลดพลังงานเสียงลง ซึ่งการเลือกแผ่นซับเสียงก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากลำบากมากนัก
ม่านกันเสียง เป็นหนึ่งในสินค้า ฉนวนกันเสียง ถูกแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามสถานที่ที่นำไปติดตั้งใช้งาน คือม่านกันเสียงที่ใช้ในบ้านและม่านกันเสียงที่ใช้ในโรงงาน ทั้งสองแบบมีคุณสมบัติและราคาที่ต่างกันชัดเจน คือแบบที่ใช้ในบ้านจะมีความหนาและน้ำหนักน้อยกว่าแบบที่ใช้ในโรงงาน เนื่องจากต้องมีการเลื่อนเข้าออกแทบทุกวัน อีกทั้งตัวผ้าด้านนอกของม่านกันเสียงสำหรับติดตั้งในบ้านพักอาศัย จะมีความนุ่มและการให้ตัวที่มากกว่าม่านกันเสียงที่ติดตั้งกับเครื่องจักรหรือพื้นที่ผลิตภายในโรงงาน ปัจจัยที่ทำให้ม่านกันเสียงทั้งสองแบบมีราคาแตกต่างกัน วัสดุที่นำผลิตม่านกันเสียง ม่านกันเสียงที่ใช้ในบ้านสามารถนำผ้าหนามาเย็บร่วมกับวัสดุกันเสียงที่มีความหนาไม่มากได้ ราคาวัสดุหลักจึงเป็นลายผ้าด้านนอกที่เย็บติดกับแผ่นกันเสียง เพราะลวดลายผ้าบางแบบจะมีราคาต่อตารางเมตรต่างกันเป็นหลักร้อยหรือหลักพันบาท ส่วนม่านกันเสียงที่ใช้ในโรงงานนั้นจะมีวัสดุที่เน้นความแข็งแรงทนทานกว่า แต่จะมีสีและลวดลายของผ้าที่จะนำเย็บประกอบเป็นม่านกันเสียงให้เลือกน้อยกว่า ค่าการลดเสียงหรือการกันเสียง ส่วนใหญ่ม่านกันเสียงที่ใช้ตามบ้านจะลดเสียงได้น้อยกว่าม่านกันเสียงที่ใช้ในโรงงาน เนื่องจากมีขนาดบางกว่า น้ำหนักน้อยกว่า เพราะต้องมีการเปิดและปิดม่านทุกวัน (หรือหลายครั้งต่อเดือน) ปัจจัยนี้ทำให้ราคาของม่านกันเสียงในบ้านมีราคาถูกว่าม่านกันเสียงในโรงงาน วิธีการติดตั้งและการดูแลรักษา ม่านกันเสียงในบ้านจะติดตั้งได้ง่าย ส่วนใหญ่ไม่มีระบบกึ่งอัตโนมัติในการรูดม่าน การดูแลรักษาก็ไม่มีอะไรมากแค่ระวังเรื่องฝุ่นเท่านั้น แต่สำหรับม่านกันเสียงในโรงงานโดยเฉพาะที่มีรูปแบบการเปิดปิดแบบกึ่งอัตโนมัติ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเชิงป้องกัน (preventive maintenance) ให้ระบบสามารถทำงานได้ตามปกติอยู่เสมอ ราคาของม่านกันเสียงในโรงงานประเภทนี้จึงสูงกว่าเมื่อเทียบกับม่านกันเสียงที่ใช้ในบ้าน คุณสมบัติอื่นๆที่ม่านกันเสียงควรมี ม่านกันเสียงแบบที่ใช้ในบ้านไม่ต้องการคุณสมบัติใดมากไปกว่าการกันเสียงและความง่ายในการใช้งาน (หลังจากเรื่องความปลอดภัย) ต่างจากม่านกันเสียงที่ใช้ในโรงงานที่มักต้องการคุณสมบัติอื่นๆเพิ่มนอกเหนือจากค่าการลดเสียง เช่น กันเชื้อรา กันน้ำ กันการลามไฟ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ราคาของม่านกันเสียงทั้งสองแบบแตกต่างกัน สภาพแวดล้อมที่ม่านกันเสียงติดตั้ง แน่นอนว่าม่านกันเสียงแบบที่ใช้ในบ้านแทบไม่โดนกระทำจากปัจจัยอันใดเลย ต่างจากม่านกันเสียงที่ใช้ในโรงงาน ที่มีโอกาสเปื้อนน้ำมัน โดนไอกรด ปะทะกับสารเคมี หรือถูกสะเก็ดไฟในบางกรณี คุณสมบัติที่ต้องมีเพิ่มเข้ามานี้มีผลกับราคาที่ต่างกันของม่านกันเสียงทั้งสองแบบ แนวทางการเลือกใช้ม่านกันเสียงโดยสังเขป ปลอดภัยเมื่อนำมาใช้งาน […]
วัสดุกันเสียงทุกวันนี้มีให้เลือกหลากหลาย มากกกว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา วัสดุกันเสียง หนึ่งในสินค้า ฉนวนกันเสียง อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกลงพร้อมกับลวดลายเพิ่มขึ้น
แผ่นซับเสียง มีมากมายหลายรูปแบบและผลิตขึ้นจากวัสดุที่มีลักษณะเป็นโพรงหรือเป็นรูพรุนอยู่ด้านในแผ่น วัสดุที่นิยมนำมาผลิตแผ่นซับเสียงได้แก่ วัสดุประเภทใยแก้วแบบเส้นสั้นอัดแน่นประเภทความหนาแน่นต่ำ (96 kg/m3 หรือต่ำกว่า) วัสดุใยแก้วแบบเส้นสั้นอัดแน่นประเภทความหนาแน่นสูง (128 kg/m3 หรือสูงกว่า) วัสดุประเภทใยหิน วัสดุประเภทใยพลาสติควัสดุจำพวกโพลียูรีเทน วัสดุจำพวกเยื่อกระดาษและเยื่อไม้ เป็นต้น
ปัญหาเสียงดังรบกวนหรือระดับเสียงดังกว่าที่กฎหมายกำหนดปัญหาเสียงดังรบกวนหรือมลพิษทางเสียง สร้างปัญหาและความหนักใจให้กับหลายๆคน โดยที่ผู้ได้รับผลกระทบเรื่องเสียงเหล่านั้น อาจจะไม่เคยทราบว่ากฎหมายในเมืองไทยให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่ได้รับเสียงอยู่ 4 ประเภทด้วยกัน
ม่านกันเสียงและม่านทั่วไป ม่านกันเสียง อีกประเภทของ ฉนวนกันเสียง ซึ่งนิยมใช้กันเสียงในโรงงานมากกว่าใช้กันเสียงในอาคารพักอาศัย เนื่องจากน้ำหนักและความแข็งตัวของม่านกันเสียงที่มีมากกว่าม่านทั่วไป ทำให้การใช้งานในบ้านหรือห้องชุดไม่เป็นที่นิยม มีหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าม่านกันเสียงจะมีลักษณะของวัสดุคล้ายหรือเหมือนกับม่านบังแดดและบังตาโดยทั่วไป แต่โดยความเป็นจริงแล้วม่านกันเสียง จะมีน้ำหนักมากกว่าม่านธรรมดาหลายเท่าตัว ม่านกันเสียงเหมาะกับการใช้งานแบบไหน ม่านกันเสียงเหมาะกับการใช้ลดเสียงจากกระบวนการผลิตในโรงงาน หรือเสียงดังรบกวนจากเครื่องจักรที่ส่งผลกระทบกับพนักงาน เหมาะกับงานลดเสียงที่หวังผลประมาณ 5-10 dBA (ขึ้นอยู่กับพลังงานเสียง) หรืองานเก็บรายละเอียดหลังจากที่ทำห้องกันเสียงหรือติดแผ่นซับเสียงแล้ว แต่ระดับเสียงยังคงสูงกว่าความคาดหวังหรือเป้าหมายที่ต้องการลดเสียง ม่านกันเสียงจะมาช่วยลดระดับเสียงลงได้ในขั้นตอนสุดท้าย ส่วนประกอบของม่านกันเสียง ม่านกันเสียงมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบใส แบบทึบ ยังไม่นับรวมถึงวิธีการติดตั้งและวิธีการใช้งาน ที่มีทั้งแบบกึ่งอัตโนมัติและแบบใช้งานธรรมดา ส่วนประกอบของผนังกันเสียงจึงมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการลดเสียงจากแหล่งกำเนิดและเสียงที่ปลายทางหรือผู้รับเสียงต้องการ ตัวอย่างส่วนประกอบหลักของม่านกันเสียงได้แก่ ผ้าสักหลาดหนา ผ้าใยสังเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูง แผ่นโปลีเอสเตอร์หนา แผ่นวัสดุจำพวกเทอร์โมพลาสติค ผ้าเคลือบสารกันลามไฟ เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งานม่านกันเสียง การติดตั้งม่านกันเสียงบริเวณประตูเข้าออก ของห้องไฮดรอลิคปั๊ม การติดตั้งม่านกันเสียงบริเวณที่พนักงาน ทำงานอยู่ใกล้เครื่องจักร การติดตั้งม่านกันเสียงรอบเครื่องตัดน้ำแข็ง หรือ freezing tower การติดตั้งม่านกันเสียงรอบเครื่องแยกขนาด (sieving machine) เพื่อลดเสียงสะท้อน การติดตั้งม่านกันเสียงบริเวณประตูห้องเครื่องอัดอากาศ เพื่อลดเสียงรบกวน ข้อเด่นและข้อจำกัดของม่านกันเสียง ในงานแก้ปัญหาเสียงรบกวนม่านกันเสียงเป็นทางเลือกที่ลงทุนน้อยสุด ทำได้รวดเร็วและลดระดับเสียงได้ในระดับที่น่าพอใจ แต่ม่านกันเสียงเหมาะกับงานลดระดับเสียงที่เกินความต้องการอยู่ไม่มาก และเนื่องจากไม่ได้เป็นการป้องกันเสียงทุกทิศทางเหมือนห้องกันเสียงหรือตู้กันเสียง […]
ห้องเก็บเสียง เป็นอีกประเภทหนึ่งของฉนวนกันเสียง มีวัตถุประสงค์เพื่อกันเสียงของแหล่งกำเนิดเสียงที่อยู่ภายในห้อง ไม่ให้ส่งเสียงดังทะลุผ่านออกมานอกห้องหรือมีเสียงดังผ่านผนังห้องออกมาให้น้อยที่สุด ห้องเก็บเสียงจะมีทั้งแบบทึบที่ไม่มีระบบระบายอากาศเลย และแบบที่เปิดเป็นบางส่วน
ฉนวนกันเสียงผนังเบาเป็นแบบไหน เสียงดังรบกวนบางประเภทสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ฉนวนกันเสียงผนังเบา ซึ่งมีอยู่ด้วยกันสองแบบคือ แบบอยู่กับที่และแบบเคลื่อนย้ายที่ได้ โดยทั้งสองแบบมีลักษณะคล้ายกันคือประกอบขึ้นด้วยแผ่นยิปซั่ม หรือวัสดุคอมโพสิทที่มีน้ำหนักเบา ทั้งสองด้านจะประกบฉนวนกันเสียงที่สอดอยู่ตรงกลาง สำหรับความหนาของฉนวนก็จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แต่ฉนวนกันเสียงผนังเบาจะไม่นิยมให้มีความหนาเกินกว่าสองนิ้วโดยเฉพาะแบบเคลื่อนย้ายได้ เนื่องจากดูแล้วเกะกะขาดความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย กรณีที่ต้องใช้ฉนวนกันเสียงผนังเบา ฉนวนกันเสียงผนังเบาถูกนำมาใช้แก้ปัญหาเสียงที่มีพลังงานน้อย หรือเสียงที่มีระดับความดังเกินกว่าที่ต้องการไม่มากนัก เนื่องจากฉนวนกันเสียงผนังเบาสามารถสร้างขึ้นได้ง่าย ค่าวัสดุและค่าแรงในการประกอบถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับฉนวนกันเสียงแบบอื่น นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการให้เสียงรบกวนลดลง ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้ผนังเบานั้นสามารถย้ายที่ติดตั้งได้ หรือต้องการลงทุนลดเสียงด้วยงบประมาณที่น้อยสุด อีกกรณีคือต้องการใช้ฉนวนกันเสียงผนังเบาแค่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ได้เป็นการใช้งานแบบถาวร หาซื้อฉนวนกันเสียงผนังเบาได้ที่ไหนบ้าง ฉนวนกันเสียงผนังเบาไม่ได้มีจำหน่ายแบบสำเร็จรูป แต่ทางผู้ใช้งานสามารถจัดหาวัสดุและหารือกับทางช่างประกอบได้เลย วัสดุสำหรับจัดทำก็สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ได้แก่ แผ่นซับเสียง แผ่นกันเสียง แผ่นยิปซั่มหรือแผ่นคอมโพสิท จำพวก โพลียูรีเทน โพลีเอสเตอร์ ส่วนโครงสร้างก็สามารถใช้ได้ทั้งโครงสร้างเหล็กและโครงสร้างอลูมิเนียม ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ อายุการใช้งานที่ต้องการและงบประมาณที่มี ฉนวนกันเสียงผนังเบาลดเสียงได้เท่าไร หากเป็นเสียงจากเครื่องจักรหรือแหล่งกำเนิดเสียงที่มีขนาดเล็ก หรือมีความเข้มเสียงไม่มากนัก ฉนวนกันเสียงผนังเบาสามารถลดหรือกันเสียงได้เป็นที่น่าพอใจ ตัวเลขโดยประมาณที่ฉนวนกันเสียงผนังเบาลดได้คือตั้งแต่ 3-5 dBA ขึ้นอยู่กับรูปแบบและวิธีการติดตั้งที่หน้างานด้วยเช่นกัน หากต้องการค่าการลดเสียงมากกว่านี้ ฉนวนกันเสียงผนังเบาต้องมีค่า STC (Sound Transmission Class) สูงขึ้น อาจต้องใช้ STC40 ขึ้นไป ขนาดมาตรฐานของฉนวนกันเสียงผนังเบา ขนาดมาตรฐานสำหรับฉนวนกันเสียงผนังเบาส่วนใหญ่คือ 1.20×2.40 […]
แผ่นซับเสียง คือวัสดุที่ใช้ในการดูดซับพลังงานเสียง และเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน พื้นที่ที่มีแผ่นซับเสียงติดตั้งอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความถี่เสียง จากแหล่งกำเนิดเสียงในบริเวณนั้น จะช่วยให้ระดับความดังเสียงลดลงหรือเสียงเบาลงนั่นเอง
ประสิทธิภาพในการลดเสียงของ ฉนวนกันเสียง ใยแก้ว ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระดับความดังเสียง (SPL) ระดับพลังงานเสียง (SWL) ความถี่เสียงรบกวน (frequencies) ความพรุนของวัสดุหุ้มฉนวนกันเสียงใยแก้ว
หลังติดตั้ง ฉนวนกันเสียง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแหล่งจำหน่าย งบประมาณ ระดับเสียงที่เปลี่ยนไป วิธีการติดตั้ง อายุการใช้งาน ความสวยงาม วิธีการดูแลรักษาและอื่นๆ เรื่องกังวลเหล่านี้จะหมดไปหรือลดลงหากเรารู้จักกับวัสดุหรือฉนวนกันเสียงแต่ละแบบ ที่มีให้เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
วิธีเลือก แผ่นซับเสียง สำหรับการแก้ปัญหา เสียงดัง ในห้องต่างๆ ที่แนะนำ มีดังนี้ สำหรับแก้ปัญหาในห้องชุดหรือคอนโด แผ่นซับเสียงกับการแก้ปัญหาเสียงดังรบกวนในห้องพักอาศัยอย่างคอนโดมิเนียม ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากว่าปัญหาเสียงรบกวนของห้องชุดที่มีผนังร่วมกันคือเสียงจากแต่ละห้องทะลุผ่านถึงกัน มากกว่าที่จะเป็นเสียงรบกวนจากเสียงก้องและเสียงสะท้อนภายในห้องเอง แต่หากมีประเด็นให้ต้องใช้แผ่นซับเสียงในห้องคอนโด วิธีการเลือกก็คือ แผ่นซับเสียงนั้นต้องไม่ผลิตจากวัสดุที่มีอันตรายต่อระบบหายใจ หรือมีฝุ่น เส้นใย ที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง หากเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ หรือไม่ลามไฟ ก็ยิ่งเพิ่มความปลอดภัย สำหรับแก้ปัญหาในห้องประชุม วิธีการเลือกแผ่นซับเสียงในห้องประชุม อันดับแรกต้องกำหนดงบประมาณที่จะทำการลงทุนติดตั้งแผ่นซับเสียงก่อน เมื่อทราบแล้วจึงไปกำหนดสเป็คหรือคุณสมบัติของแผ่นซับเสียง จากนั้นให้ทำการคำนวณหาค่า RT60 หรือค่าการสะท้อนของเสียงก่อนและหลังการติดตั้งแผ่นซับเสียง เพื่อประเมินการลดลงของเสียงก้องหรือเสียงสะท้อนในห้องประชุม หากพบว่าระดับค่าการสะท้อนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ประมาณ 0.5-0.7 วินาที) ก็ถือว่าการเลือกแผ่นซับเสียงแบบนั้นบรรลุวัตถุประสงค์การใช้งาน สำหรับแก้ปัญหาในห้องซ้อมดนตรี ห้องซ้อมดนตรีก้บแผ่นซับเสียงเป็นของคู่กัน การติดแผ่นซับเสียงในห้องซ้อมดนตรีสามารถติดได้เต็มพื้นที่หรือติดเฉพาะบางพื้นที่ ขึ้นอยู่กับล้กษณะ ขนาด และประเภทของเครื่องดนตรีภายในห้องนั้น วิธีการเลือกแผ่นซับเสียงก็คือ ต้องมีค่า SAC หรือสัมประสิทธิ์การซับเสียง ที่เหมาะสมกับประเภทเครื่องดนตรีและสไตล์การซ้อมที่เกิดขึ้นภายในห้องนั้น การเลือกแผ่นซับเสียงแบบนี้ จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและช่วยให้เสียงภายในห้องซ้อมไม่แห้ง (death sound) หรือขาดอรรถรสของการเล่นสดไป สำหรับแก้ปัญหาในโรงงาน การใช้แผ่นซับเสียงแก้ปัญหาเสียงก้องในโรงงาน นิยมใช้เฉพาะบางกรณีหรือบางประเภทกิจการ […]
ผนังกันเสียงก็คือผนังที่มีคุณสมบัติในการต้านทานการผ่านของเสียงที่เราไม่ต้องการได้ยิน จัดเป็นอีกหนึ่งสินค้าของ ฉนวนกันเสียง และช่วยป้องกันเสียงดัง ในระดับที่ปลอดภัย
ฉนวนกันเสียงเป็นชื่อเรียกวัสดุที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกันเป็นอย่างมาก เพราะคนส่วนใหญ่จะเรียกวัสดุซับเสียง (sound absorptive materials) และวัสดุกันเสียง (soundproofing materials) รวมๆกันว่า “ฉนวนกันเสียง”
- 1
- 2