ประกาศกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑและวิธีการจัดทําโครงการอนุรักษการไดยินในสถานประกอบกิจการ
พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการดานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทํางานเกี่ยวกับความรอน แสงสวาง และเสียง พ.ศ. ๒๕๔๙ กําหนดให นายจางจัดทําโครงการอนุรักษการไดยินในสถานประกอบกิจการในกรณีที่สภาวะการทํางานในสถาน ประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจางไดรับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงตั้งแตแปดสิบหา เดซิเบลเอขึ้นไป ตามหลักเกณฑและวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในขอ ๑๒ แหงกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและ การจัดการดานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทํางานเกี่ยวกับความรอน แสงสวาง และเสียง พ.ศ. ๒๕๔๙ อันเปนกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย บัญญัติใหกระทําไดโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุมครอง แรงงาน จึงออกประกาศไว ดังตอไปนี้
ขอ ๑ ประกาศนี้เรียกวา “ประกาศกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ และวิธีการจัดทําโครงการอนุรักษการไดยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๕๓”
ขอ ๒ ประกาศนี้ใหใชบังคับตั้งแตวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเปนตนไป
ขอ ๓ ใหนายจางจัดทําโครงการอนุรักษการไดยินในสถานประกอบกิจการเปนลายลักษณอักษร ในกรณีที่สภาวะการทํางานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจางไดรับเฉลี่ยตลอดระยะเวลา การทํางานแปดชั่วโมงตั้งแตแปดสิบหาเดซิเบลเอขึ้นไป ซึ่งอยางนอยตองมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการ ดังนี้
(๑) นโยบายการอนุรักษการไดยิน
(๒) การเฝาระวังเสียงดัง (Noise Monitoring)
(๓) การเฝาระวังการไดยิน (Hearing Monitoring)
(๔) หนาที่ความรับผิดชอบของผูที่เกี่ยวของ
ทั้งนี้ ใหนายจางประกาศโครงการอนุรักษการไดยินในสถานประกอบกิจการใหลูกจางทราบ
ขอ ๔ ใหนายจางจัดใหมีการเฝาระวังเสียงดัง โดยการสํารวจและตรวจวัดระดับเสียง การศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง และการประเมินการสัมผัสเสียงดังของลูกจางในสถานประกอบ กิจการแลวแจงผลใหลูกจางทราบ
ขอ ๕ ใหนายจางจัดใหมีการเฝาระวังการไดยิน โดยใหดําเนินการดังนี้
(๑) ทดสอบสมรรถภาพการไดยิน (Audiometric Testing) แกลูกจางที่สัมผัสเสียงดังที่ไดรับ เฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงตั้งแตแปดสิบหาเดซิเบลเอขึ้นไป และใหทดสอบ สมรรถภาพการไดยินของลูกจางครั้งตอไปอยางนอยปละหนึ่งครั้ง
(๒) แจงผลการทดสอบสมรรถภาพการไดยินใหลูกจางทราบภายในเจ็ดวันนับแตวันที่นายจาง ทราบผลการทดสอบ
(๓) ทดสอบสมรรถภาพการไดยินของลูกจางซ้ําอีกครั้งภายในสามสิบวันนับแตวันที่นายจาง ทราบผลการทดสอบ กรณีพบวาลูกจางมีสมรรถภาพการไดยินเปนไปตามขอ ๗ ขอ ๖ เกณฑการพิจารณาผลการทดสอบสมรรถภาพการไดยินใหเปนไป ดังนี้
(๑) ใชผลการทดสอบสมรรถภาพการไดยินครั้งแรกของลูกจางที่ความถี่ ๕๐๐ ๑๐๐๐ ๒๐๐๐ ๓๐๐๐ ๔๐๐๐ และ ๖๐๐๐ เฮิรตซ ของหูทั้งสองขางเปนขอมูลพื้นฐาน (Baseline Audiogram) และ
(๒) นําผลการทดสอบสมรรถภาพการไดยินครั้งตอไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบ สมรรถภาพการไดยินที่เปนขอมูลพื้นฐานทุกครั้ง ขอ ๗ หากผลการทดสอบสมรรถภาพการไดยินพบวาลูกจางสูญเสียการไดยินที่หูขางใดขางหนึ่ง ตั้งแต ๑๕ เดซิเบลขึ้นไป ที่ความถี่ใดความถี่หนึ่ง ใหนายจางจัดใหมีมาตรการปองกันอันตรายอยางหนึ่ง อยางใดแกลูกจาง ดังนี้
(๑) จัดใหลูกจางสวมใสอุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคลที่สามารถลดระดับเสียง ที่ลูกจางไดรับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงเหลือนอยกวาแปดสิบหาเดซิเบลเอ
(๒) เปลี่ยนงานใหลูกจาง หรือหมุนเวียนสลับหนาที่ระหวางลูกจางดวยกันเพื่อใหระดับเสียง ที่ลูกจางไดรับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงนอยกวาแปดสิบหาเดซิเบลเอ
ขอ ๘ ใหนายจางติดประกาศผลการตรวจวัดระดับเสียง แผนผังแสดงระดับเสียงในแตละ พื้นที่ เพื่อใหลูกจางทุกคนไดรับทราบ
ขอ ๙ ใหนายจางอบรมใหความรูความเขาใจเกี่ยวกับโครงการอนุรักษการไดยิน ความสําคัญของการทดสอบสมรรถภาพการไดยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุมปองกัน และการใชอุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคล แกลูกจางที่ทํางานในบริเวณที่มีระดับเสียงดัง ที่ไดรับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงตั้งแตแปดสิบหาเดซิเบลเอขึ้นไป และลูกจาง ที่เกี่ยวของในสถานประกอบกิจการ
ขอ ๑๐ ใหนายจางประเมินผลและทบทวนการจัดการโครงการอนุรักษการไดยินในสถาน ประกอบกิจการไมนอยกวาปละหนึ่งครั้ง ขอ ๑๑ ใหนายจางบันทึกขอมูลและจัดทําเอกสารการดําเนินการตามขอ ๓ ถึงขอ ๑๐ เก็บไวในสถานประกอบกิจการไมนอยกวาหาป พรอมที่จะใหพนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน