ท่อลำเลียงเสียงดัง !!
ปัญหาเสียงดัง ที่เกิดขึ้นภายในโรงงานอุตสาหกรรม มีน้อยคนที่จะทราบว่าท่อส่งก๊าซ หรือของเหลว ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็น แหล่งกำเนิดเสียง เพราะการสั่นสะเทือนและแรงดันที่เกิดขึ้นภายในท่อนั้นเอง ทำให้การ แก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง ที่มีแนวท่อลำเลียงอยู่บริเวณนั้นด้วย ผิดประเด็นหรือได้ผลลัพธ์เรื่องเสียงที่ลดลงน้อยกว่าที่ประเมินไว้ เหตุเพราะไม่ได้คำนึงถึงเรื่อง เสียงที่เกิดจากท่อลำเลียง เหล่านี้ ปัญหาเสียงรบกวนจากท่อ เกิดขึ้นได้แม้ในท่อน้ำทิ้งทั่วไป ภายในอาคาร หรือบ้านพักอาศัย (เมื่อมีการกดน้ำโถชักโครก) หรือท่อในโรงงานตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6” ขึ้นไป โดยเฉพาะท่อที่มีอัตราของไหลและแรงดันในท่อสูงมากๆอย่างท่อลำเลียง oxygen และ nitrogen รวมถึงท่อทั่วไปที่มีการติดตั้งและระยะซัพพอร์ทไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการกระพือหรือสั่นสะเทือนของท่อเมื่อมีแรงดันสูงมากๆ
โดยทั่วไปเสียงดังจากท่อทางเหล่านี้ไม่ได้มีค่าระดับเสียงที่สูงมาก (ไม่เกิน 80-85 dBA) แต่เมื่อเราแก้ปัญหาเสียงดังที่จุดอื่นได้แล้ว โดยที่แนวท่อเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือรับไว้พิจารณาในการออกแบบ ระบบลดเสียงดัง แต่แรก ก็อาจทำให้ ระดับเสียงที่ลดลงไม่เป็นไปตามที่เราคำนวณไว้ก่อนหน้า จึงจำเป็นที่ผู้ทำการวิเคราะห์และ แก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง ต้องคำนึงถึงเสียงดังที่เกิดจากท่อลำเลียง นี้ด้วย
แนวทางการแก้ไข
เสียงดังจากท่อลำเลียง นิยมใช้วิธีหุ้มฉนวนกันเสียง หรือ ฉนวนซับเสียง ลงไปตรงๆบนผิวท่อได้เลย หรือในกรณีที่ไม่สามารถหุ้มฉนวนลงบนผิวท่อได้ตรงๆ ก็สามารถสร้างฝาครอบแบบถอดได้ ติดตั้งไปตามแนวท่อ โดยสิ่งสำคัญคือการคำนวณหาคุณสมบัติของ ฉนวนลดเสียง ที่เหมาะสม สำหรับ ลดเสียงดัง ที่เกิดจากการเดินทางของของไหลภายในท่อนั้นๆ หรือหากพิจารณาแล้วพบว่าโครงสร้างของฐานซัพพอร์ทท่อออกแบบผิดพลาด หรือใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม ก็ต้องทำการแก้ไขและเลือกวัสดุเหล่านั้นใหม่ ทำให้การแก้ไข ปัญหาเสียงดังจากท่อลำเลียงหมดไปในที่สุด
Sound:
คลื่นเสียงมีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ ความถี่ (frequency) หรืออัตราการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงที่นับเป็นรอบต่อวินาที (Hz) และ ความแรง (amplitude) หรือปริมาณความแรงคลื่นที่อัดอากาศจากศูนย์กลางการสั่นของวัตถุ หน่วยเป็น decibel (ก่อนนั้นเป็น Pa หรือ Pascal) และตัวสุดท้ายคือ เฟส (phase) หรือส่วนของคลื่นในพิกัดเวลาต่างๆ มีส่วนครบรอบที่ 360 องศา