ปัญหา เสียงดังในอาคาร
ปัญหาเสียงสะท้อน ปัญหาเสียงก้องภายในอาคาร โดยส่วนมากจะเกิดกับอาคารคอนกรีต ห้องหรือพื้นที่ที่มีผนังเป็นลักษณะเรียบแข็ง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของอาคารแต่กลายเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาเสียงสะท้อน การแก้ไขเสียงก้อง เมื่อมีการใช้งานห้องหรือพื้นที่นั้น เพราะคลื่นเสียงจากการพูดคุย หรือทำกิจกรรมภายในอาคารนั้นออกไป และมีการสะท้อนกลับเมื่อเจอกับผนัง กำแพง หรือแม้กระทั่งประตูและหน้าต่าง ส่งผลให้ผู้ใช้งานต้องเพิ่มระดับความดังเสียงในการพูดคุยสื่อสารกัน แม้ระดับเสียงก้องและเสียงสะท้อนนี้ จะมีระดับความดังไม่มากนัก แต่ก็ส่งผลให้เกิดความรำคาญเมื่อต้องการทำกิจกรรมที่ไม่ต้องการเสียงสะท้อนเหล่านี้ เช่น การชมภาพยนตร์ การฟังเพลง การซ้อมดนตรี หรือแม้แต่การประชุมพูดคุยกัน
ผู้ออกแบบอาคารสมัยใหม่ในปัจจุบันที่มีประสบการณ์ และเข้าใจถึง ปัญหาเรื่องเสียง สำหรับผู้อยู่อาศัยจริงๆ จะระบุให้หลายพื้นที่ใช้สอยในอาคารต้องมีฉนวนซับเสียงอยู่ในแนวผนังและพื้นที่ฝ้า เพื่อลดปัญหาเสียงก้อง เสียงสะท้อนเหล่านี้ เช่น เสียงสะท้อนห้องนอน เสียงสะท้อนห้องทำงาน เสียงสะท้อนห้องพักผ่อน เสียงสะท้อนห้องนั่งเล่น เสียงสะท้อนห้องประชุม เสียงสะท้อนห้องจัดเลี้ยง เสียงสะท้อนห้องทดสอบระบบ เสียงสะท้อนห้องแสดงสินค้า เสียงสะท้อนห้องบันทึกเสียง เสียงสะท้อนห้องจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น
ปัจจัยที่นำมาพิจารณาเมื่อต้องการลดเสียงสะท้อน การลดเสียงก้องภายในอาคาร
- ค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้น เมื่อต้องมีการติดตั้งระบบดูดซับเสียง
- น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น สำหรับบางพื้นที่หรือบางอาคารที่มีปัญหาเรื่องการเพิ่มน้ำหนักภายหลัง
- วัสดุที่จะนำมาใช้ในการดูดกลืนเสียง ต้องไม่มีฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย
- ง่ายต่อการทำความสะอาด การเปลี่ยนและซ่อมแซมเมื่อชำรุด
- เข้ากับรูปแบบและสีสันของอาคารบ้านเรือนได้เป็นอย่างดี
แนวทางการแก้ไข
ติดตั้งฉนวนซ้บเสียงให้กับพื้นที่ใช้สอยที่ต้องการลดเสียงสะท้อน การลดเสียงก้อง ให้กับบริเวณที่ต้องการ เช่น ระบบฝ้าและผนังเบาโดยมี ฉนวนกันเสียง เป็นส่วนประกอบ การติดแผ่นซับเสียง ลงบนท่อของระบบปรับอากาศ ในอาคารขนาดใหญ่ ติดวัสดุอคูสติค ตามแนวผนังหรือบันได รวมถึงการเลือกใช้แผ่นดูดกลืนเสียงให้เหมาะสมก้บพื้นที่นั้นๆ
Sound:
เมื่อเลือกฉนวนกันเสียงหรือฉนวนซับเสียง ทราบหรือไม่ว่านอกจากความหนาและความหนาแน่น (density) ของฉนวนนั้นแล้วยังต้องพิจารณาถึงค่า NRC (Noise Reduction Coefficient) และค่า STC (Sound Transmission Class) ซึ่งทั้งสองค่ายิ่งมากยิ่งนำมาใช้กันเสียงหรือลดเสียงได้ดี ทั้งสองค่านี้สามารถดูได้จากเอกสารขายหรือสเป็คของทางผู้ผลิต