ปัญหา ห้องควบคุมเสียงดัง

ฉนวนลดเสียงดังเครื่องจักรโรงงาน

ห้องควบคุมเสียงดัง!!!

ปัญหา เสียงดังในห้องควบคุม ที่มาและสาเหตุของปัญหาห้องควบคุมระบบที่ไม่ได้มีการออกแบบ และ ก่อสร้าง ระบบกันเสียง ไว้ตั้งแต่ต้น จะสร้าง ปัญหาเรื่องเสียงดัง ที่ผ่านเข้ามาภายในห้อง เมื่อมีการผลิต หรือเมื่อเครื่องจักรทำงาน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ได้แก่ เสียงดังห้องควบคุมระบบที่อยู่ติดหรืออยู่ใกล้กับเครื่องจักร เช่น เสียงดังห้องคอนโทรลของเครื่อง gas engines ขนาดกำลัง 300 kW ที่ทำงานพร้อมกัน 4 เครื่องพร้อมๆกัน จะกำเนิดเสียงในจุดตั้งเครื่องที่มี ระดับความดังเสียง ถึง 95-105 dBA หากห้องควบคุมไม่มี ระบบกันเสียง ที่มีประสิทธิภาพพอ จะทำให้เสียงผ่านเข้าไปในห้องที่อยู่ห่างกันราว 15 เมตรที่ระดับ ความดังของเสียง ระหว่าง 80-85 dBA ซึ่งเสียงขนาดนี้ ส่งผลให้คนปฏิบัติงานภายในห้องนั้นเกิดความรำคาญจากคลื่นเสียง จนไม่สามารถทำงานได้ แม้จะใส่ อุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น ear muffs และ ear plugs แล้วก็ตาม และอาจเกิด โรคพิการทางเสียง ได้ในที่สุด

ฉนวนกัน เสียงดังในห้องควบคุม
เสียงดังในห้องควบคุม

ตัวอย่าง ปัญหาเสียงดัง ที่ผ่านเข้ามาในห้องควบคุมระบบ

  • เสียงดังจากเครื่องยนต์ เครื่องจักร
  • เสียงดังจากการกระแทกกันของอากาศ
  • เสียงดังจากการกระทบกันของวัตถุดิบ
  • เสียงดังจากการสั่นสะเทือนของพัดลมอุตสาหกรรม
  • เสียงดังจากการใช้น้ำฉีดแรงดันสูงในกระบวนการผลิต

แนวทางการแก้ไข

ห้องควบคุมระบบที่สร้างใหม่พร้อมออกแบบระบบกันเสียง ที่ถูกต้องไว้ก่อนการก่อสร้าง เป็นการป้องกัน ปัญหาเรื่องเสียงดังรำคาญ ที่จะผ่านเข้ามาในห้องได้ดีที่สุด และเป็นการลงทุนที่ได้ผลดีสุด เมื่อเทียบกับการจัดทำ ระบบลดเสียงขึ้นภายหลังที่ได้มีการใช้งานห้อง และเครื่องจักรแล้ว เนื่องจากการสร้าง ห้องซับเสียง หรือ ผนังกันเสียง ภายหลัง ถึงจะสามารถทำได้แต่ก็จะมีผลกระทบกับชั่วโมงการทำงานอย่างแน่นอน และอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดทำ ห้องกันเสียง สูงกว่าที่มีการจัดทำแต่แรก ซึ่งวัสดุที่นิยมใช้ซับเสียงในห้องควบคุมได้แก่ แผ่นซับเสียง ร่วมกับ ฉนวนกันเสียง หรือในบางกรณีก็ต้อง ติดตั้งแผ่นดูดกลืนเสียง ช่วยด้วยอีกชั้นหนึ่ง ที่ขาดไม่ได้ก็คือ ประตูกันเสียง ที่เหมาะกับขนาดของห้องและพื้นที่ทำงานในบริเวณนั้น

Sound:

ช่วงความถี่ของคลื่นเสียงที่มนุษย์ได้ยิน 60-23,000 Hz (รอบต่อวินาที) เรียกว่า “คลื่นออดิเบิล” (audible waves) คลื่นความถี่ที่ต่ำกว่านี้เรียกว่า “infrasonic waves” และคลื่นความถี่ที่สูงกว่านี้เรียกว่า “ultrasonic waves”

error: Content is protected !!
Call Now Buttonโทรสอบถาม 0989954650