สำหรับในปี 2558 สรุปสถาการณ์ประการแรกอัตราผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในทั้ง 2 เพศมีแนวโน้มลดลงกล่าวคือ ในเพศชายมีอัตราผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 143.3 รายต่อประชากรหนึ่งแสนราย ลดลงกว่าเมื่อ 3 ปีก่อนหรือปี 2551 ที่พบมะเร็งรายใหม่อยู่ที่ 156.7 รายต่อประชากรหนึ่งแสนราย ส่วนในเพศหญิงมีอัตราผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 131.9 รายต่อประชากรหนึ่งแสนราย ลดลงกว่าในปี 2551 ที่พบมะเร็งรายใหม่อยู่ที่ 138.2 รายต่อประชากรหนึ่งแสนราย หรือเท่ากับผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 112,392 คนต่อปี แบ่งเป็นชาย 54,586 คน และหญิง 57,586 คน แม้ว่าจำนวนผู้หญิงที่เป็นมะเร็งรายใหม่จะพบมากกว่า ตามจำนวนประชากรเพศหญิงบ้านเราที่มีมากกว่าเพศชาย แต่ผู้ป่วยมะเร็งเพศชายกลับเสียชีวิตมากกว่า คือเสียชีวิตปีละ 36,662 คนและ 26,610 คน ในเพศชายและเพศหญิงตามลำดับ เรียกว่าผู้ชายเป็นน้อยคนกว่าแต่เสียชีวิตมากกว่าผู้หญิงปีละประมาณ 10,000 คน เหตุเพราะผู้ชายส่วนใหญ่เป็นมะเร็งตับและมะเร็งปอด ซึ่งความรุนแรงของโรคมากกว่ามะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกที่พบบ่อยในเพศหญิง
เมื่อมาพิจารณาแนวโน้มของมะเร็งแต่ละอวัยวะพบว่า มะเร็งที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องคือ มะเร็งปากมดลูก เช่นเดียวกับมะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอดก็มีแนวโน้มที่ลดลงเช่นเดียวกัน ส่วนมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักยังทรงๆ ค่อนข้างคงที่ ส่วนมะเร็งที่น่าเป็นห่วงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องคือ มะเร็งเต้านม จนทำให้ปัจจุบันมีการรณรงค์เรื่องมะเร็งเต้านมบ่อยกว่ามะเร็งของอวัยวะอื่น
ที่สำคัญต้องขอย้ำกันอีกครั้งว่า ที่มีการส่งต่อข้อความที่ว่าตอนนี้คนไทยเป็นมะเร็งเบอร์ 1 ของเอเชียแล้ว อัตรา 1 คนต่อ 8 คนนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด แท้จริงแล้วในเพศชายประเทศไทยเราอยู่แค่อันดับ 5 ในภูมิภาคอาเซียน เป็นรองจากอันดับหนึ่งถึงสี่คือ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ตามลำดับ ส่วนในเพศหญิงพบเป็นอันดับ 8 ในภูมิภาคอาเซียน และหากนับทั้งทวีปเอเชีย ประเทศที่พบผู้ป่วยมะเร็งโดยรวมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น มองโกเลีย จีน ตามลำดับ
โดย มะเร็ง ที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกในเพศชาย ได้แก่
- มะเร็งตับ และทางเดินน้ำดี
- มะเร็งปอด
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
ส่วน 3 อันดับแรกของ โรคมะเร็ง ที่พบในเพศหญิง ได้แก่
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งปากมดลูก
- มะเร็งตับและทางเดินน้ำดี
นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าว ว่า โรคมะเร็งเป็นกลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ มากกว่าปกติ ให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง หลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะเหล่านั้นผิดปกติ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรค มะเร็ง ที่สำคัญ 3 ประการ
- ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกายเช่น สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม ยารักษาโรค รวมทั้งการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียและพยาธิบางชนิด
- ปัจจัยจากพฤติกรรม เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุราเป็นประจำ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงหรือเค็มจัด อาหารที่มีส่วนผสมดินประสิวและไหม้เกรียมเป็นประจำ
- ปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น ความผิดปกติของยีน และความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ในปัจจุบันแพทย์สามารถรักษามะเร็งหลายชนิดให้หายได้ และทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีอัตรารอดชีวิตที่ยาวนานมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็งที่พบ เพราะมะเร็งระยะเริ่มแรกย่อมมีการตอบสนองต่อการรักษาหรือมีโอกาสหายขาด มากกว่าระยะลุกลาม หรือระยะสุดท้าย ดังนั้น การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกจึงมีความสำคัญ
อาการเตือน 5 มะเร็ง ที่เป็นกันบ่อย
เพื่อส่งสัญญาณเตือนให้ผู้อ่านได้ไหวตัวทันก่อนที่เนื้อร้ายจะเข้ามาแฝงใน ร่างกายโดยที่คุณเองไม่รู้ตัว
มะเร็งตับ
นั่นก็เป็นเพราะสมรรถภาพการทำงานของตับด้อยลง เนื่องด้วยพฤติกรรมการกินของคนไทยเปลี่ยนไป คนนิยมบริโภคอาหารตะวันตก จำพวก แป้ง น้ำตาล ไขมัน มากขึ้น จึงกระตุ้นให้เกิดไขมันพอกตับ อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรังและพัฒนาการเป็นตับแข็ง ขณะที่ผู้ป่วยบางกลุ่มที่ได้รับสารอะฟลาท็อกซินที่สร้างขึ้นจากเชื้อราใน อาหารจำพวก ถั่วลิสงบด พริกแห้ง หัวหอม กระเทียม องุ่นแห้ง ปลาตากแห้ง เหล่านี้เป็นจำนวนมาก ก็อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี อันนำไปสู่โรคมะเร็งตับในอนาคตได้เช่นกัน
มะเร็งปอด
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปากมดลูก
โรคมะเร็ง ลำไส้ใหญ่
ดังนั้น การจะทราบว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่ สามารถทำได้ด้วยวิธีการตรวจคัดกรอง เพื่อตรวจหาความผิดปกติเบื้องต้นก่อนที่โรคจะลุกลามกลายเป็นมะเร็ง ทั้งนี้หากใครเคยมีพฤติกรรมการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไป เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย อุจจาระก้อนเล็กลง อุจจาระมีมูกเลือดปะปน หรือมีอาการถ่ายอุจจาระไม่สุด ให้รู้ไว้ว่าเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนจากมะเร็งลำไส้ใหญ่
การป้องกัน โรคมะเร็ง
มีหลักการง่ายๆ คือ ออกกำลังกายประจำ ทำจิตแจ่มใส กินผักผลไม้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของมื้ออาหาร กินอาหารให้หลากหลาย ไม่ซ้ำซาก จำเจ และใหม่สด สะอาด ปราศจากเชื้อรา ไม่กินอาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่างหรือทอดไหม้เกรียม อาหารหมักดองเค็ม และปลาน้ำจืดที่มีเกล็ดดิบๆ รวมทั้งไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ไม่มีเซ็กซ์มั่วหรือไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ไม่อยู่กลางแดดนานๆ และที่สำคัญคือตรวจร่างกายเพื่อค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก เป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง
ท้ายนี้ ขอให้ผู้ชมเวปไซด์ ฉนวนกันเสียง ทุกท่าน มีสุขภาพที่ดี และไม่ประมาทในการดำรงชีวิต สุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว ด้วยความรักและห่วงใย…………………………….กันตพล