วัสดุกันเสียง ที่นิยมในปัจจุบัน

ฉนวนกันเสียง

วัสดุกันเสียง ทุกวันนี้มีให้เลือกหลากหลาย มากกกว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา วัสดุกันเสียง หนึ่งในสินค้า ฉนวนกันเสียง อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกลงพร้อมกับลวดลายเพิ่มความสวยงามให้เลือกมากขึ้น ถึงแม้ว่าวัสดุกันเสียงจะสามารถแยกประเภทได้ตามลักษณะการใช้งาน แต่เพื่อความเข้าใจง่ายและเพื่อให้สามารถเลือกไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม จึงขอยกตัวอย่างและแนะนำวัสดุกันเสียงที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ให้เข้าใจกันพอสังเขป

วัสดุกันเสียงในรูปแบบของ ผนังกันเสียง
ผนังกันเสียงที่ถูกสร้างขึ้นโดยวัตถุประสงค์จะให้กันเสียงแบบจริงจัง ตามหลักวิชาของ engineering noise control แนะนำให้มีความหนาของผนังไม่น้อยกว่าความยาวคลื่นเสียง ที่ต้องการกันหรือลดเสียงดังรำคาญ แต่ในทางปฏิบัติจริงเราอาจจะไม่สามารถสร้างผนังกันเสียงที่มีความหนาสองฟุตหรือหนาครึ่งเมตรได้ การเลือกวัสดุกันเสียงจึงมีความสำคัญ เช่น หากเราต้องการกันเสียงที่มีความถี่ต่ำ วัสดุต้องเป็นจำพวกที่มีความหนาแน่นสูง และมีน้ำหนักต่อตารางเมตรมาก วัสดุกันเสียงประเภทนี้ได้แก่ แผ่นคอนกรีตหล่อหรือคอนกรีตเทในแบบ แผ่นอิฐมอญแบบตันก่อแบบเต็มแผ่น เป็นต้น แต่หากเราต้องการผนังกันเสียงที่กันเสียงความถี่สูง วัสดุที่ใช้จะเป็นพวกแผ่นซับเสียงทั่วไป นำมาติดตั้งร่วมกับวัสดุก่อสร้างที่มีใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น แผ่นยิปซั่ม แผ่นซีเมนต์บอร์ด และแผ่นไม้อัด เป็นต้น

วัสดุกันเสียงในรูปแบบของกำแพงกันเสียง
สำหรับกำแพงกันเสียง จะมีวัตถุประสงค์เดียวกับผนังกันเสียง ต่างกันตรงที่กำแพงกันเสียงส่วนใหญ่จะอยู่ภายนอกอาคาร ความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศจึงเป็นปัจจัยสำคัญมากกว่าผนังกันเสียงที่อยู่ภายในอาคาร วัสดุกันเสียงสำหรับงานกำแพงกันเสียง ได้แก่ คอนกรีตหล่อแบบเทในแบบ แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปแบบตัน แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปแบบมีช่องใส่วัสดุกันเสียงด้านใน อิฐมอญแบบตัน แผ่นคอมโพสิทอันโพลียูรีเทนด้านใน แผ่นซีเมนต์บอร์ดประกบแผ่นกันเสียงตรงกลาง แผ่นโลหะเจาะรูที่ประกบยางสังเคราะห์ชั้นกลางแผ่น เป็นต้น

วัสดุกันเสียงในรูปแบบของม่านกันเสียง
ม่านกันเสียงนิยมใช้ลดเสียงดังรบกวนภายในอาคาร โอกาสที่จะโดนน้ำหรือแสงยูวีแทบไม่มี นอกจากว่าเป็นม่านกันเสียงที่ใช้ในโรงงาน ในบริเวณที่มีการล้างทำความสะอาดหรือมีโอกาสเสี่ยงในการโดนสารเคมี วัสดุกันเสียงที่นิยมนำมาทำม่านกันเสียงได้แก่ ผ้าโปลีเอสเตอร์ชนิดหนา ผ้ายางเทาโพลีน ผ้ายางเคลือบไวนีล ผ้าเคลือบซิลิโคนรับเบอร์ แผ่นยางสังเคราะห์ แผ่นโพลียูรีเทนแบบหนา แผ่นสักหลาดความหนาแน่นสูง ผ้าจากเส้นใยโพลีโพรไฟลีน

ไม่ว่าจะวัสดุกันเสียงแบบไหน เมื่อจะนำมาประยุกต์ใช้ ขอให้พิจารณาค่า STC (Sound Transmission Class) ที่จะบ่งบอกถึงความสามารถในการลดเสียง ค่า STC ยิ่งมากแสดงว่าวัสดุกันเสียงนั้นกันเสียงได้ดี หรือหากไม่ทราบค่า STC แต่มีความจำเป็นต้องเลือกวัสดุ ก็ให้พิจารณาว่า วัสดุที่ใหญ่ หนา หนัก มักจะมีความสามารถในการกันเสียงได้ดีกว่าวัสดุที่มีความเบาบางและน้ำหนักน้อยๆ นันเอง

error: Content is protected !!
Call Now Buttonโทรสอบถาม 0989954650