ประสาทหูเสื่อมจากอาชีพที่ทำ

ลดเสียงดัง

โรคประสาทหูเสื่อมจากการประกอบอาชีพ เป็นภาวะการเสื่อมของประสาทหู เนื่องจากสัมผัสกับเสียงดังที่เกิดจากการทำงาน อาชีพกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ บุคคลที่ต้องทำงานอยู่กับเสียงดัง ดังนี้

  • ลูกจ้างของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ โรงทอ โรงงานถลุงเหล็ก โรงเลื่อย เป็นต้น
  • นอกโรงงาน ได้แก่ คนขับรถตุ๊กตุ๊ก รถอีแต๋น ตำรวจจราจร บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีปัญหาการจราจร เป็นต้น

องค์ประกอบที่ทำให้ประสาทหูเสื่อมเนื่องจากเสียง

  1. ความเข้มของเสียง เสียงดังมากจะยิ่งทำลายประสาทหูมาก
  2. ความถี่ของเสียง เสียงที่มีความถี่สูงหรือแหลมจะทำลายประสาทหูมากกล่าเสียงที่มีความถี่ต่ำ
  3. ระยะเวลาที่ได้ยินเสียง ยิ่งสัมผัสกับเสียงเป็นเวลานาน ประสาทหูจะยิ่งเสื่อมมาก
  4. ลักษณะของเสียงที่มากระทบ เสียงกระแทกไม่เป็นจังหวะ จะทำลายประสาทหูมากกว่าเสียงที่ดังติดต่อกันไปเรื่องๆ
  5. ความไวต่อการเสื่อมของหู เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จะเกิดประสาทหูเสื่อมได้ง่ายกว่าคนปกติ

การสูญเสียการได้ยิน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ

  1. การสูญเสียการได้ยินอย่างเฉียบพลัน เมื่อได้ยินเสียงระเบิด เสียงปืน เป็นต้น
  2. การสูญเสียการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป เกิดขึ้นในผู้ที่ทำงานอยู่ในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานานๆ เช่น โรงทอ โรงกลึง เป็นต้น

เกณฑ์การวินิจฉัยโรค

  1. ประวัติทำงานในที่ที่มีเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือได้ยินเสียงดังมากทันที
  2. ผลการทำสอบสมรรถภาพการได้ยินมีกราฟเป็นรูปตัววีที่ความถี่ 4,000 เฮิร์ต และระดับการได้ยินเกิน 25 เดซิเบล (เอ)

ระดับการได้ยิน แบ่งได้ดังนี้ (500 – 2,000 เฮิร์ต)

    • หูปกติ น้อยกว่า 25 เดซิเบล (เอ)
    • หูตึงเล็กน้อย 25-40 เดซิเบล (เอ)
    • หูตึงปานกลาง 41-55 เดซิเบล (เอ)
    • หูตึงมาก 56-70 เดซิเบล (เอ)
    • หูตึงรุนแรง 71-90 เดซิเบล (เอ)

(*ANSI 1969)

การป้องกัน เป็นการปฏิบัติตามแผนพิทักษ์การได้ยิน ดังนี้

1. การแก้ไขเพื่อลดระดับเสียง

  • ลดระยะเวลาการทำงาน
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

2. การป้องกันทางสิ่งแวดล้อม

  • กำหนดจุดอันตราย ถ้ามีเสียงดังเกิน 155 เดซิเบล (เอ)
  • ตรวจวัดเสียงบริเวณที่เป็นจุดกำเนิดเสียง หรือบริเวณที่ลูกจ้างทำงาน

3. การป้องกันที่ตัวบุคคล

  • ให้ความรู้
  • ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ปลั๊กอุดหู ที่ครอบหู

4. การตรวจการได้ยิน

  • ตรวจก่อนเข้าทำงาน
  • ตรวจระหว่างทำงาน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง

แนวทางการแก้ไข ปัญหาเสียงดังในโรงงาน ผู้ประกอบการ ต้องให้ความสำคัญต่อปัญหามลภาวะทางเสียงของโรงงานอุตสาหกรรม ทำการวิเคราะห์ ปัญหาเสียงดังเกินมาตรฐาน ของเครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมทั้งหาหนทางในการแก้ไขปัญหาเสียงดังในโรงงานอุตสาหกรรมของตน อย่างถูกต้อง ตรงจุดของปัญหา

มลภาวะทางเสียง ที่เกิดจากการผลิตในโรงงาน มีวิธีการแก้ไขได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดเสียง และความซับซ้อนของกระบวนการผลิตนั้น เช่น บางปัญหาเรื่องเสียงสามารถแก้ไขได้โดยการทำ ผนังกั้นเสียง ห้องดูดซับเสียง ท่อลดเสียง กล่องเก็บเสียง แผ่นดูดกลืนเสียง ม่านเก็บเสียง หรือ ติดฉนวนกันเสียง ลงไปตรงๆ ที่แหล่งกำเนิดเสียง ก็สามารถ ลดเสียงดังรำคาญ ลงได้จนเป็นที่น่าพอใจ แต่บางปัญหา ต้องถึงกับปรับเปลี่ยน หรือ ดัดแปลงอุปกรณ์ หรือ วิธีการผลิตไปเลย จึงจะสามารถ แก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง ได้หายขาดก็มี แนวทาง การแก้ไขที่สำคัญจึงอยู่ที่ “การจำกัด หรือเปลี่ยนแปลงแหล่งกำเนิดเสียง ให้อยู่ในทิศทางที่เราต้องการ หรือ ลดระดับความเข้มของพลังงานเสียง ให้กลายเป็นพลังงานความร้อน หรือพลังงานอย่างอื่นแทน”

error: Content is protected !!
Call Now Buttonโทรสอบถาม 0989954650