อ้นตรายจากเสียงมีอะไรบ้าง ฉนวนกันเสียง จึงมีความสำคัญ

ฉนวนกันเสียง

เสียงรบกวนหรือเสียงที่ดังเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ฉนวนกันเสียง จึงเป็นสิ่งที่ช่วยลดเสียงดังเกินมาตรฐาน ซึ่งเสียงที่ดังเกินไป สามารถสร้างอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนษย์ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายรวมถึงสุขภาพจิต ทั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยในการทำงานอีกด้วย หากท่านประสบหรือพบเห็นผู้ที่สัมผัสเสียงเกินกว่า 85 dBA เป็นเวลายาวนานต่อเนื่องกันโดยไม่มีเครื่องป้องกันหู ควรแนะนำให้ทราบถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการได้ยิน ซึ่งท้ายที่สุดอาจจะก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร (permanent hearing loss)

ฉนวนกันเสียง

อันตรายจากเสียงดังทั้งแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือดังกระแทกแบบช่วงสั้นๆ สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินขึ้นได้ในสองรูปแบบ แบบแรกจะเป็นการสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว หรือที่เรามักจะเรียกว่า “หูดับ” หรือ “หูอื้อชั่วขณะ” และแบบที่สองคือการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร ซึ่งหมายถึงการสูญเสียที่ไม่สามารถทำการรักษาหรือฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมได้นั่นเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการสูญเสียการได้ยินแบบถาวรนั้นจะเกิดในช่วงความถี่สูง ประมาณช่วง 3000-6000 Hz

นอกจากการสูญเสียการได้ยินแล้ว อันตรายจากเสียงยังมีอีกหลายประการ ดังนี้
• ความด้นโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากสมดุลร่างกายเปลี่ยนแปลงไป
• เส้นเลือดหดตัวมากกว่าปกติ อันอาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
• ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อทำงานผิดไปจากปกติ
• รู้สึกมีอาการท้องใส้ปั่นป่วน หรือปวดท้อง
• มีอาการนอนไม่หลับ แม้เสียงนั้นจะเงียบแล้วก็ตาม
• เกิดความเครียดสะสม และอาจเริ่มต้นมีความรู้สึกหดหู่
• หงุดหงิด โมโหง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้เหมือนเดิม

วิธีการสังเกตว่าเรากำลังทำงานหรืออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อาจได้รับอันตรายจากเสียง
• ต้องตะเบ็งเสียงหรือตะโกนเพื่อให้คู่สนทนาได้ยิน
• ไม่เข้าใจหรือไม่ได้ยินเสียงจากคู่สนทนา ในระยะห่างประมาณ 1 เมตร
• รู้สีกอื้ออึง เหนื่อยล้าและวิงเวียนศีรษะ
• รู้สึกว่าปวดในหู หรือมีเสียงดังวิ้งๆอยู่ในหูตลอดเวลา

เสียงดังทำลายระบบประสาทหูและการได้ยินของเราได้อย่างไร
• เสียงเข้าสู่หูเราในรูปคลื่น ยิ่งเสียงดังมาก คลื่นที่เข้าไปในรูหูจะลูกใหญ่มาก
• ใบหูชั้นนอกจะรับคลื่นเสียง เพื่อให้คลื่นเสียงเข้าไปกระทบกับหูชั้นกลางและเกิดความสั่นสะเทือน
• จากนั้นคลื่นเสียงที่ถูกแปลงเป็นความสั่นสะเทือน จะเดินทางไปยัง cochlea หรืออวัยวะรูปก้นหอย ซึ่งมีเส้นขนขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก และมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณความสั่นสะเทือนเป็นคลื่นไฟฟ้าส่งต่อไปยังสมองเพื่อประมวลผลต่อยังเส้นประสาทเกี่ยวกับระบบการได้ยิน
• เฉพาะเส้นขนที่แข็งแรงของอวัยวะรูปก้นหอยเท่านั้น ที่สามารถส่งคลื่นไฟฟ้าไปยังสมองส่วนของระบบการได้ยิน จากนั้นสมองจะสั่งการต่อว่าจะตอบสนองต่อเสียงที่เราได้ยินอย่างไร
• ถ้าเส้นขนของอวัยวะรูปก้นหอยถูกคลื่นเสียงหรือความสั่นสะเทือนกระทบอย่างรุนแรง ก็จะเกิดการเสียหาย เมื่อโดนบ่อยๆ เส้นขนเหล่านี้ก็จะหายไปไม่สามารถขึ้นมาใหม่ได้อีก ทำให้คลื่นไฟฟ้าในช่วงที่ขนหายไปไม่เกิดขึ้น อันหมายถึงสมองไม่สามารถรับรู้หรือสั่งให้ส่วนอื่นๆตอบสนองต่อเสียงที่เกิดขึ้นนอกหูได้นั่นเอง

error: Content is protected !!
Call Now Buttonโทรสอบถาม 0989954650