ระดับเสียงดังรบกวนยามวิกาล ฉนวนกันเสียง ทางเลือกของการแก้ปัญหา

ฉนวนกันเสียง

นิยามของ “เสียงดังรบกวน”
เสียงดังรบกวน คือเสียงที่ผู้รับฟังไม่อยากได้ยิน ไม่ว่าเสียงนั้นจะมีระดับความดังเสียงเท่าไรก็ตาม หากเป็นเสียงที่ได้ยินแล้วรู้สึกเดือดร้อน รำคาญ หรือมีอาการตอบสนองในทางลบ ให้ถือว่าเสียงนั้นเป็นเสียงรบกวน เช่น เสียงยุงบิน เสียงจากท่อไอเสียยานพาหนะ เสียงเพลงจากลานแสดงดนตรี เสียงจากการก่อสร้าง และเสียงจากกระบวนการผลิตในโรงงาน เป็นต้น ตามกฎหมายของกรมควบคุมมลพิษ กำหนดให้ระดับเสียงรบกวนต้องไม่เกิน 10 dBA จากระดับเสียงพื้นฐาน หากเกินกว่านี้ทางเจ้าของแหล่งกำเนิดเสียง จะต้องทำการปรับปรุงโดยหาแนวทางลดระดับเสียงรบกวนลง ฉนวนกันเสีย ที่มีคุณภาพ จึงเป็นสินค้าที่คัญ ในการแก้ไขปัญหาเสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโรงงานอุตสาหกรรม และบ้านเรือนที่อยู่ริมถนน หรือแม้แต่ อาคาร ห้องประชุม สำนักงาน ต่างๆ

เมื่อไรคือ “ยามวิกาล”
ตามกฎหมายของกรมควบคุมมลพิษ “ยามวิกาล” หมายถึงช่วงเวลาตั้งแต่ 22:00 น. จนถึงเวลา 06:00 น.

ผลกระทบต่อผู้รับเสียงรบกวน
ผู้ได้รับผลกระทบจากเสียงรบกวนยามวิกาลจะมีอาการได้หลายอย่าง ทั้งอาการปวดหัว หูอื้อ สูญเสียการได้ยินชั่วคราว การนอนไม่หลับ รบกวนการสนทนา ไม่มีสมาธิในการทำงานหรืออ่านหนังสือ ความเครียดสะสม หากได้รับเสียงรบกวนเป็นเวลานานต่อเนื่องกัน จะเป็นจุดเริ่มต้นของความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวลดลง แผลในกระเพาะอาหาร อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวเนื่องจากไม่ได้พักผ่อน

สิทธิของผู้ได้รับผลกระทบ
ผู้ได้รับผลกระทบของเสียงรบกวนยามวิกาล ไม่จำเป็นต้องทนอยู่ในภาวะจำยอมที่ทำให้ตนเองหรือสมาชิกในครอบครัวเกิดอาการเครียด หรือภาวะการนอนไม่หลับจากระดับเสียงรบกวนที่ผู้อื่นได้กระทำ เบื้องต้นผู้ได้รับผลกระทบด้านเสียงสามารถบอกกล่าว ผู้ที่ทำให้เกิดเสียงรบกวนหรือเจ้าของสถานที่ที่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนนั้นรับทราบเพื่อดำเนินการลดระดับเสียงลง ในกรณีที่ไม่สามารถบอกได้หรือบอกแล้วแต่ทางแหล่งกำเนิดเสียง กระทำการเพิกเฉยและปล่อยปละละเลยให้มีเสียงรบกวนต่อไป ผู้ได้รับผลกระทบสามารถแจ้ง ผู้นำชุมชนหรือหน่วยงานราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูเรื่องนี้ได้ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อุตสาหกรรมจังหวัด กรมควบคุมมลพิษ กรมอนามัย และศูนย์ดำรงธรรม เป็นต้น

แนวทางการลดเสียงรบกวนยามวิกาล
การลดเสียงรบกวนสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งที่แหล่งกำเนิดเสียงและทางผ่านเสียง เช่น การบังเสียง การกันเสียง การซับเสียง การครอบ การดัดแปลงเครื่องจักรให้เสียงลดลง แม้ว่าจะมีบางกิจกรรมหรือกิจการบางประเภทที่ไม่สามารถลดเสียงได้ แต่สามารถใช้วิธีบริหารจัดการแหล่งกำเนิดเสียง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนรำคาญจากมลภาวะทางเสียงในยามวิกาลได้ เช่น กรณีที่รถบรรทุกหรือรถโดยสารต้องเข้ามาต่อคิว เพื่อรอเติมก๊าซธรรมชาติจากสถานีให้บริการ โดยที่รถเหล่านั้นไม่ดับเครื่องยนต์ขณะเข้าคิวรอ ส่งผลให้ชาวบ้านที่พักอาศัยใกล้กับสถานีก๊าซ ได้รับผลกระทบจากเสียงเครื่องยนต์ เป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญที่สามารถจัดการได้ด้วยวิธีการบริหาร การจัดคิวและการควบคุมกำกับรถที่ต่อคิวให้ดับเครื่องยนต์ขณะรอ ซึ่งจะทำได้จริงจังและนานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับผู้เกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบ

ฉนวนกันเสียง
error: Content is protected !!
Call Now Buttonโทรสอบถาม 0989954650