ฉนวนกันเสียง ที่เป็น ผนังกันเสียง ที่มีคุณภาพ รู้ได้อย่างไร

ฉนวนกันเสียง

ประสิทธิภาพของ ผนังกันเสียง อีกรูปแบบของสินค้า ฉนวนกันเสียง

นิยามของผนังกันเสียง

หากกล่าวถึงคำว่า “ผนังกันเสียง” หลายคนอาจจะมีความเข้าใจหรือนึกภาพของผนังกันเสียงที่แตกต่างกัน แต่โดยภาพรวม ผนังกันเสียงก็คือผนังที่มีคุณสมบัติในการต้านทานการผ่านของเสียงที่เราไม่ต้องการได้ยิน

ผนังกันเสียงเหมาะกับการใช้งานแบบไหน

ผนังกันเสียงสามารถนำมาใช้ลดเสียงได้แทบทุกสภาวะแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกอาคาร มีทั้งแบบกันน้ำและไม่กันน้ำ โดยทั่วไปเราจะพบเห็นผนังกันเสียงถูกนำมาติดตั้งในโรงงาน พื้นที่โครงการก่อสร้าง บ้านพักอาศัย คอนโดมิเนียม ร้านอาหารหรือสถานประกอบการบางประเภท

ส่วนประกอบของผนังกันเสียง

ผนังกันเสียงแต่ละแบบจะประกอบด้วยวัสดุที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบหรือผู้วิเคราะห์และแก้ปัญหามลภาวะทางเสียงจะจัดเรียงวัสดุเพื่อทำการบรรเทาพลังงานเสียง จากแหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นปัญหาเดือดร้อนรำคาญหรือสร้างอันตรายต่อการได้ยิน ส่วนใหญ่แล้วผนังกันเสียงจะมีส่วนประกอบดังนี้

  • ส่วนที่เป็นวัสดุด้านนอก มีหน้าที่ปกป้องฝุ่น ฝน แสงยูวี รอยขีดข่วนรวมไปถึงเพื่อความสวยงาม
  • ส่วนที่เป็นวัสดุด้านใน มีหน้าที่กันเสียงหรือลดพลังงานเสียง มีทั้งแบบเส้นใยหรือวัสดุที่มีความหนาแน่นสูง

ประสิทธิภาพของผนังกันเสียง

การตัดสินใจเลือกผนังกันเสียงเราจะต้องพิจารณาค่า STC หรือ Sound Transmission Class จากที่ผู้ผลิตหรือผู้ออกแบบระบุไว้ หากค่า STC สูงแสดงว่าผนังกันเสียงนั้นลดเสียงลงได้มาก เช่น STC50 จะลดเสียงได้มากกว่า STC30 ข้อสำคัญที่พึงระวังไว้คือตัวเลขของ STC ไม่ใช่ระดับเสียงที่จะลดลง ยกตัวอย่างเช่น ผนังกันเสียงที่ระบุว่ามีค่า STC30 ไม่ได้หมายความว่าหลังติดตั้งไปแล้ว ระดับเสียงจะลดลง 30 dBA เป็นต้น

ข้อเด่นและข้อจำกัดของผนังกันเสียง

ข้อเด่นของผนังกันเสียงคือสามารถลดพลังงานเสียงหรือระดับเสียงลงได้ทันทีภายหลังการติดตั้ง อีกทั้งยังไม่มีปัญหาเรื่องการปิดกั้นการระบายความร้อนเมื่อเทียบกับตู้ครอบลดเสียงหรือห้องกันเสียง ที่จะต้องมีการคำนวณและออกแบบการนำพาความร้อนออกนอกตู้หรือนอกห้องอีกด้วย ส่วนข้อจำกัดของผนังกันเสียงก็คือ ไม่สามารถลดระดับเสียงลงได้มากหากเทียบกับตู้ครอบลดเสียงหรือห้องกันเสียง ผนังกันเสียงเหมาะที่จะใช้ลดเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงที่มีพลังงานเสียงไม่เข้มข้นหรือสูงเกินไป

การดูแลรักษาผนังกันเสียง

ผนังกันเสียงแต่ละประเภทถูกออกแบบและผลิตมาด้วยปัจจัยของปัญหาที่ต่างกัน การดูแลรักษาย่อมไม่เหมือนกัน แต่หลักสำคัญคือต้องระวังหรือดูแลไม่ให้เกิดการกระแทกหรือขีดข่วน อันจะทำให้ผนังเกิดความเสียหายชำรุด อีกประการคือผนังกันเสียงบางชนิด ไม่สามารถกันน้ำหรือไฟได้ ก็ต้องระวัง หรือผนังบางประเภทที่มีรอยต่อของวัสดุ ต้องหมั่นดูแลว่ามีรอยร้าวหรือรอยแยกออกจากกันหรือไม่ หากมีต้องทำการซ่อมแซมเพื่อมิให้รอยแยกเกิดการขยายตัวออกไป

 

error: Content is protected !!
Call Now Buttonโทรสอบถาม 0989954650